การเปรียบเทียบสรรพคุณของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงกับไดโคลฟีแนคเป็นยาบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง
จันธิดา อินเทพ, บุญญาณี ศุภผล, บุษราวรรณ ศรีวรรธนะ, ประไพ วงศ์สินคงมั่น, ปราณี ชวลิตธำรง, ยุทธพงษ์ ศรีมงคล*, รัดใจ ไพเราะ, ไพจิตร์ วราชิต
Sa Kaeo Provincial Public Health Office, Sa Kaeo Province 27000
บทคัดย่อ
การศึกษาประสิทธิผลและผลข้างเคียงของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงเปรียบเทียบกับยาไดโคลฟีแนค  (Diclofenac)  ในการรักษาผู้ป่วยอาการปวดหลังส่วนล่าง  2  กลุ่ม  ที่โรงพยาบาลวังน้ำเย็น  จังหวัดสระแก้ว.  กลุ่มหนึ่งจำนวน  37 ราย  กินสารสกัดเถาวัลย์เปรียงบรรจุแคปซูล  ขนาด 200 มิลลิกรัมวันละ 3 ครั้ง  เป็นเวลา 7 วัน  และอีกกลุ่มหนึ่งจำนวน 33 ราย  กินยาไดโคลฟีแนคเม็ด  ขนาด 25 มิลลิกรัมวันละ 3 ครั้ง  เป็นเวลา 7 วัน.  ผลการศึกษาแสดงว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีจำนวนเม็ดเลือดขาวลดลงอย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 7  ของการรักษา  แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ  และไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีรวมทั้งผลข้างเคียงใด ๆ ;  ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับยาไดโคลฟีแนคนั้นตรวจไม่พบการเปลี่ยนแปลงใด ๆ  ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีระดับอาการปวดลดลงอย่างชัดเจนในวันที่ 3 และวันที่ 7.  ผลการศึกษานี้ได้บ่งชี้ชัดว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงที่ให้กินในขนาดวันละ 600  มิลลิกรัมนาน 7 วัน  สามารถลดอาการปวดหลังส่วนล่างได้ไม่แตกต่างจากการใช้ยายาไดโคลฟีแนคขนาดวันละ 75  มิลลิกรัม
ที่มา
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปี 2550, January-April ปีที่: 5 ฉบับที่ 1 หน้า 17-23
คำสำคัญ
Diclofenac, Derris scandens (Roxb.) Benth, Low back pain, ปวดหลังส่วนล่าง, เถาวัลย์เปรียง