คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแผนกการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน, พันทิตา เฉลิมพนาพันธ์*
Department of Psychology, School of Social Sciences, Kasetsart University, Bangkok 10903
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ :  1)  ศึกษาระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง  การสนับสนุนทางสังคม  และคุณภาพชีวิต,  2)  ศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย  จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล,  3)  ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย,  4)  ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม  กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแผนกการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา :  ผู้ป่วยนอกที่ตรวจรักษาที่แผนกการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก  โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร  จังหวัดปราจีนบุรี  จำนวน  280  คน ; ใช้  แบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ ;  ค่าสถิติคือ  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าการวิเคราะห์เปรียบเทียบ  t-test,  ค่าความแปรปรวนทางเดียว  F-test,  การทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธี LSD, และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ;  กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05  และ  0.01ผลการศึกษา :   1)  ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับสูง, การสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง, และมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูง ;  2) ผู้ป่วยที่เพศ  อายุ  รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว  อาชีพ  กลุ่มอาการโรคที่เข้ารับการรักษาแตกต่างกัน  มีคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน,  แต่ผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาและระยะเวลาการเจ็บป่วยแตกต่างกัน  มีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05;  3)  พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01;  4)  การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ที่มา
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปี 2550, January-April ปีที่: 5 ฉบับที่ 1 หน้า 66-71
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Chao Phya Abhaibhubejhr Hospital, Thai traditional and alternative medicine, การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, ผู้ป่วย, โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศ