ประสิทธิผลของยา Lidocaine ทางหลอดเลือดดำก่อนถอดท่อหายใจเพื่อกดอาการไอในช่วงถอดท่อหายใจ
พัชมณ สธนเสาวภาคย์*, ธิดารัตน์ อริยานุชิตกุล, ณัฐธิยา ชุ่มนาเสียว
กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา นครราชสีมา ประเทศไทย
บทคัดย่อ
บทนํา: การดมยาสลบแบบทั่วไป นิยมการใส่ท่อหายใจ มีการนํายา Lidocaine มาเสริมเพื่อให้เกิดความราบรื่น ขณะใส่และถอดท่อหายใจ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอาการไอในช่วงถอด ท่อหายใจระหว่างการใช้ยา idocaine ทางหลอดเลือดดำ และไม่ใช้ยา
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบเก็บข้อมูลไปข้างหน้า แบบสุ่มมีตัวควบคุมแบบปกปิดสองด้าน ผู้ป่วย 140 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ได้ยา tidocaine ในขนาด 1.5 มก./กก. ทางหลอดเลือดดำ 5 นาทีก่อนถอดท่อหายใจ และกลุ่มที่ได้ normal saline ทางหลอดเลือดดำ 5 นาที ก่อนถอดท่อหายใจ ผลลัพธ์หลัก คือ อาการไอในช่วงถอด ท่อหายใจ
ผลการศึกษา: พบอาการไอทั้ง 3 ช่วงระยะไม่มีความ แตกต่างทางสถิติโดยอุบัติการณ์ของอาการไอขณะถอดท่อ หายใจในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองเท่ากับร้อยละ 70 และ 65.7 (p = 0.718) ตามลำดับ อุบัติการณ์ของอาการ เจ็บคอทั้งสองกลุ่มไม่ต่างกันแต่อุบัติการณ์การเกิดพิษจาก ยาชา พบมากที่สุดในกลุ่มที่ได้ยา lidocaine
สรุป: การใช้ tidocaine ทางหลอดเลือดดำ ในขนาด 1.5 มก./กก. ก่อนถอดท่อหายใจไม่พบมีความแตกต่างทางสถิติ ต่อการกดอาการไอในช่วงถอดท่อหายใจเมื่อเทียบกับการไม่ใช้ยา
 
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2564, January-March ปีที่: 48 ฉบับที่ 1 หน้า 45-50
คำสำคัญ
Lidocaine, ลิโดเคน, Extubation, การถอดท่อหายใจ, Cough, อาการไอ