เปรียบเทียบภาวะความดันโลหิตต่ำจากการฉีดยาชาเข้าไขสันหลังระหว่างการให้สารน้ำขนาดต่ำและขนาดสูงในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับการผ่าตัดคลอดแบบไม่เร่งด่วน
จารุณี รักการงาน
กลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
บทคัดย่อ
            ภาวะความดันโลหิตต่ำที่เกิดจากการฉีดยาชาเข้าไขสันหลังเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ  การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบว่าการให้ปริมาณสารน้ำที่น้อยลงในรูปแบบที่แตกต่างจากเดิม  จะสามารถลดการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำจากการฉีดยาชาเข้าไขสันหลังได้เช่นเดียวกับการให้สารน้ำปริมาณมากหรือไม่  การวิจัยนี้เป็นการศึกษาไปข้างหน้าแบบสุ่ม(randomized  control  trial)ในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา  ตั้งแต่เดือน  กรกฎาคม  พ.ศ.2563  ถึง  เดือนมกราคม  พ.ศ.  2564 ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์เดี่ยวที่มารับการผ่าตัดคลอดแบบไม่เร่งด่วนและได้รับการระงับความรู้สึกโดยการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง อายุ 15-45 ปี น้ำหนักไม่เกิน 100 kg ASA I-II ทั้งหมด 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม ได้รับสารน้ำ 15 ml/kg (H group) 30 คน และ กลุ่มทดลอง ได้รับสารน้ำ 10 ml/kg (L group) 30 คนโดยทั้งสองกลุ่มจะได้รับสารน้ำแบบ co-load คือ จะเริ่มให้สารน้ำหลังจากฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง จากนั้นจะวัดความดันโลหิตในนาทีที่ 1, 2, 3, 5, 10 และ 15 โดยค่าความดันที่ต่ำกว่า 20% ของค่าตั้งต้น ถือว่าเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ หากค่า SBP<90 mmHg จะมีการให้ยาเพิ่มความดันร่วมด้วยผลการศึกษาพบว่าข้อมูลทั่วไปของประชากรทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน  อายุเฉลี่ย 29.27+/- 5.80 ทั้งสองกลุ่ม น้ำหนักเฉลี่ย 70.30+/- 12.68  ใน group H และ 76.63+/-12.74  ใน  group  L  หลังจากฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง  พบว่าเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำในประชากรทั้งสองกลุ่ม  แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกช่วงเวลา การให้สารน้ำแบบ coload ในปริมาณน้อย 10 ml/kg เทียบกับการให้สารน้ำปริมาณมาก 15 ml/kg ในหญิงตั้งครรภ์เดี่ยวที่มารับการผ่าคลอดแบบไม่เร่งด่วน มีอัตราการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำจากการฉีดยาชาเข้าไขสันหลังที่ไม่แตกต่างกัน
 
ที่มา
วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ปี 2564, September-December ปีที่: 11 ฉบับที่ 3 หน้า 641-652
คำสำคัญ
Spinal anesthesia, Hypotension, หญิงตั้งครรภ์, ความดันโลหิตตำ, ความดันโลหิตต่ำ, Parturient, Crystalloid co-load, การให้สารน้ำแบบ coload, การฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง