ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการใส่ขาเทียมในภาคใต้ของประเทศไทย
ศุภชัย แก้วดวง, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, สมเกียรติยศ วรเดช*
คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง E-mail: somkiattiyos@tsu.ac.th
บทคัดย่อ
บทนำ : การถูกตัดขาเป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ ก่อให้เกิดเป็นความพิการ เป็นภาระทางสุขภาพที่สำคัญ แม้ว่าจะได้รับขาเทียมเพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตประจำวัน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการถูกตัดขาส่งผลกระทบ หลายด้าน รวมถึงคุณภาพชีวิต
วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของ ผู้พิการใส่ขาเทียม วิธีการวิจัย : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง ตัวอย่าง คือ ผู้พิการใส่ขาเทียม จำนวน 315 คน สุ่ม ตัวอย่างด้วยวิธีการแบ่งกลุ่ม เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพ ชีวิตของผู้พิการใส่ขาเทียมด้วยสถิติถดถอยโลจิสติกพหุตัวแปร
ผลการวิจัย : ผู้พิการใส่ขาเทียมมีคุณภาพชีวิตภาพรวมอยู่ในระดับดี (64.76%; M+SD=101.31+ 14.12) และพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการใส่ขาเทียมอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติ ได้แก่ เพศหญิง (Adjusted OR [ORadj] = 0.33, 95%CI: 0.17-0.70) ผู้ประกอบอาชีพค้าขายหรือ ธุรกิจส่วนตัว (ORadj = 9.09, 95%CI: 2.24-36.76) สาเหตุการถูกตัดขาจากอุบัติเหตุ (ORadj = 7.36, 95%Cl: 3.13-17.30) ปัญหาตอขา (ORadj = 0.22, 95%CI: 0.92-0.53) การมีรายได้เพียงพอ (ORadj - 6.91, 95%CI: 3.28-14.57) การมีสัมพันธภาพที่ดีภายในครอบครัว (ORadj = 3.20, 95%CI: 1.01-10.11) และความต้องการช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวัน (ORadj = 0.34, 95%Cl: 1.14-0.79)
สรุปผล : ผู้พิการใส่ขาเทียมมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี และปัจจัยด้านเพศ อาชีพ สาเหตุการถูกตัดขา ปัญหาต่อขา รายได้ สัมพันธภาพในครอบครัว และการทำกิจวัตรประจำวัน มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพ ชีวิตของผู้พิการใส่ขาเทียม
 
 
ที่มา
วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปี 2564, September-December ปีที่: 15 ฉบับที่ 2 หน้า 133-145
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Lower limb prosthesis, คุณภาพชี่วิต, individuals with disability, Southern Thailand, ผู้พิการ, ขาทียม, ภาคใต้ของประเทศไทย