ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดร่วมกับโยคะบำบัดต่อความเครียดอาการทางจิต คุุณภาพชีวิต และการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท
ประคอง นาโพนทัน*, อัชรา ฤาชาโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ Email: napontunkong@gmail.com
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทดลองเพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการจัดการความเครียด ร่วมกับโยคะบำบัด กับการบำบัดตามปกติ ต่อความเครียด อาการทางจิต คุณภาพชีวิต และ การกลับมารักษาซ้ำในผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภท อายุระหว่าง 20-59 ปี สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม การจัดการกับความเครียดร่วมกับการฝึกโยคะต่อเนื่อง จำนวน 10 ครั้ง กลุ่มควบคุมได้รับ การบำบัดตามปกติ เครื่องมือวิจัยใช้ Brief Psychotic Rating Scale: BPRS, Thai version of the Perceived Stress Scale:T-PSS-10 และ WHOQOI-BREF-Thai วัดผลก่อนและ หลังบำบัด ติดตามผล 1 เดือน และ 3 เดือน ระหว่างเดือน ธันวาคม 2562 พฤศจิกายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ repeated measures ANOVA ผลการศึกษา พบว่ากลุ่ม ทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียด และอาการทางจิตลดลง แต่มีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิต เพิ่มขึ้น แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และไม่พบการกลับ มารักษาซ้ำภายใน 3 เดือน ในขณะที่กลุ่มควบคุมพบการกลับมารักษาซ้ำ 5 คน จึงควรใช้ โปรแกรมการจัดการความเครียดร่วมกับโยคะบำบัดในการช่วยลดความเครียด อาการทาง จิต และลดการกลับมารักษาซ้ำในขณะที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยจิตเภทได้
ที่มา
Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice ปี 2564, July-December
ปีที่: 8 ฉบับที่ 2 หน้า 54-71
คำสำคัญ
Quality of life, ผู้ป่วยจิตเภท, โยคะบำบัด, Psychotic symptom, Stress management program, โปรแกรมการจัดการความเครียด, อาการทางจิต, yoga therapy, schizoprenia patient, คุุณภาพชีวิต