ผลของการจัดท่าคลอดกึ่งนั่งยองร่วมกับวิธีการเบ่งคลอดแบบธรรมชาติต่อเวลาในระยะที่สองของการคลอด และระดับการฉีกขาดของฝีเย็บในผู้คลอดครรภ์แรก
ปัญชลิกา วีระเดช, เอมพร รตินธร*, ฤดี ปุงบางกะดี่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 Email: ameporn.rat@manidol.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบเวลาในระยะที่สองของการคลอดและระดับการฉีกขาดของฝีเย็บในผู้คลอดครรภ์แรก ระหว่างผู้คลอดกลุ่มที่ได้รับการจัดท่าคลอดกึ่งนั่งยองร่วมกับการเบ่งคลอดแบบธรรมชาติ กับผู้คลอดกลุ่มที่เบ่งคลอดในท่านอนหงายร่วมกับการเบ่งคลอดแบบควบคุม
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม
วิธีดาเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดบุตรคนแรกที่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สังกัดสานักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จานวนทั้งหมด 81 ราย สุ่มเข้ากลุ่มด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นกลุ่มทดลอง 41 ราย กลุ่มควบคุม 40 ราย โดยในระยะที่สองของการคลอด กลุ่มทดลองจะได้รับการจัดท่าคลอดกึ่งนั่งยองร่วมกับวิธีการเบ่งคลอดแบบธรรมชาติ กลุ่มควบคุมจะได้รับการจัดท่านอนหงายชันขาร่วมกับการเบ่งคลอดแบบควบคุม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบบันทึกข้อมูลการคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติค่าที สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม สถิติไคสแคว์ และความเสี่ยงสัมพัทธ์
ผลการวิจัย: เวลาในระยะที่สองของการคลอดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันนัยสาคัญ .05 เมื่อควบคุมอิทธิพลน้าหนักทารกที่มีต่อเวลาในระยะที่สองของการคลอด (F = .58 p = .448) และระดับการฉีกขาดของช่องทางคลอดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน (p = .65) ในขณะที่การฉีกขาดของช่องทางคลอดตาแหน่งอื่นระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p = .009) โดยกลุ่มควบคุมมีความเสี่ยงต่อการฉีกขาดตาแหน่งอื่นมากกว่ากลุ่มทดลอง 4.1 เท่า (RR = 4.10; 95%CI = 1.25, 13.49)
สรุปและข้อเสนอแนะ: การจัดท่าคลอดกึ่งนั่งยองร่วมกับการเบ่งคลอดแบบธรรมชาติ ไม่ได้ลดระยะเวลาในระยะที่สองของการคลอด แต่ทาให้การฉีกขาดของช่องทางคลอดตาแหน่งอื่นเกิดขึ้นน้อยกว่า พยาบาลผดุงครรภ์ควรนาการจัดท่าคลอดกึ่งนั่งยอง และส่งเสริมการเบ่งคลอดแบบธรรมชาติไปใช้เป็นทางเลือกในการดูแลผู้คลอดในระยะที่สองของการคลอด
ที่มา
Nursing Science Journal of Thailand ปี 2565, January-March
ปีที่: 40 ฉบับที่ 1 หน้า 69-83
คำสำคัญ
Perineal tear, การฉีกขาดของฝีเย็บ, second stage of labour, ระยะที่สองของการคลอด, pushing, squatting position, การเบ่งคลอด, การจัดท่านั่งยอง