ผลของการใช้เครื่องมือช่วยตัดฝีเย็บ Episioguide ในการตัดฝีเย็บชนิด mediolateral episiotomy ต่อมุมหลังเย็บแผลฝีเย็บ: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
ชัชศรัณย์ ธนพงษ์พิบูล, เมสิตา สุขสมานวงศ์*
Department of Obstetrics and Gynaecology, Faculty of Medicine, Srinakharinwirot University, HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center, Nakhon Nayok 26120, Thailand; E-mail: maysita078@hotmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุ ประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบมุมหลังการเย็บซ่อมฝีเย็บในมารดาที่ได้รับการตัดฝีเย็บชนิด mediolateral episiotomy (MLE) ด้วยการใช้เครื่องมือ Episioguide กับมารดาที่ไม่ได้ใช้เครื่องมือช่วยตัดฝีเย็บ
วัสดุและวิธีการ: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบสุ่มซึ่งเก็บข้อมูลที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดนครนายก โดยทำการแบ่งกลุ่มมารดาเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการตัดฝีเย็บแบบ MLE ด้วยการใช้ Episioguide และกลุ่มที่ไม่ได้ใช้เครื่องมือช่วย และทำการเปรียบเทียบมุมฝีเย็บหลังการเย็บซ่อมที่อยู่ในระยะปลอดภัย คือ ช่วง 30 ถึง 60 องศาในแต่ละกลุ่ม
ผลการศึกษา: มารดาตั้งครรภ์จำนวน 88 คนจาก 112 คนได้รับการแบ่งกลุ่มแบบสุ่มเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 44 คน คือ กลุ่มที่ได้รับการตัดฝีเย็บแบบ MLE ด้วยการใช้ Episioguide และกลุ่มที่ไม่ได้ใช้เครื่องมือช่วย พบว่ากลุ่มที่ใช้ Episioguide วัดมุมหลังการเย็บฝีเย็บอยู่ในระยะปลอดภัยมากกว่า (relative risk (RR) 1.526, 95%confidence interval (CI) 1.023-2.277, p = 0.032) และมีค่าเฉลี่ยของมุมหลังการเย็บฝีเย็บที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (mean difference 7.022, 95%CI 3.057-10.988, p = 0.001).
สรุป: มารดาที่ได้รับการตัดฝีเย็บโดยใช้เครื่องมือ Episioguide มีมุมหลังการเย็บฝีเย็บอยู่ในช่วงปลอดภัยมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใช้เครื่องมือช่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
 
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2565, January-February ปีที่: 30 ฉบับที่ 1 หน้า 7-14
คำสำคัญ
Episiotomy, episioguide, angle of incision, obstetrical anal sphincter injuries (OASIS), post-suture angle, การตัดฝีเย็บ, มุมของฝีเย็บ, การบาดเจ็บของหูรูดทวารหนัก