ประสิทธิผลของการใช้นวัตกรรมเสื้อเย็นเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายในผู้ป่วยหลังผ่าตัดสมอง
สุวิมล ขัตติยะ*, แคทธรีน แซ่วาง, วราภรณ์ จาวรัตนสกุล
กลุ่มงานพยาบาลผู้ป่วยหนัก หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย 57000
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล : การลดไข้มีความจำเป็นอย่างมากในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดสมองเนื่องจากภาวะไข้เป็น ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บสมองระยะที่สองแต่การเช็ดตัวบ่อยๆ เพื่อลดไข้ เป็นการรบกวนผู้ป่วยทางอ้อม อาจเพิ่มอัตราการเผาผลาญ ส่งผลให้มีการหลั่งของสาร สื่อประสาทมากขึ้นหรือเกิดความดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้น วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการลดลงของอุณหภูมิร่างกายเปรียบเทียบระหว่างการใช้นวัตกรรมเสื้อเย็น กับการเช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดา ในผู้ป่วยที่มีอุณหภูมิร่างกายสูง รูปแบบศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงประสิทธิภาพ รูปแบบ randomized sequencecrossover design ที่หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดสมองที่ผู้ป่วยจะได้รับการเปิดซองที่ปิดผนึกไว้ล่วงหน้าเพื่อเข้ากลุ่ม ใดกลุ่มหนึ่ง กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มการใช้นวัตกรรมเสื้อเย็นในการลดอุณหภูมิร่างกาย 20 นาที/ครั้ง และกลุ่มการที่ 2 กลุ่มเช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดาเช็ดตัว 20 นาที/ครั้ง ประเมินผลหลังการทดลองโดยการวัดอุณหภูมิร่างกาย เปรียบเทียบกลุ่มด้วยสถิติ exact probabilitytestและt-testวิเคราะห์อุณหภูมิของร่างกายที่ลดลงเปรียบเทียบ ระหว่างสองวิธี สถานที่ศึกษา : โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ผลการศึกษา : ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิแรกรับ และอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงในนาทีที่30ของกลุ่มนวัตกรรม เสื้อเย็นและกลุ่มเช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดาไม่แตกต่างกัน แต่ในนาทีที่60 มีแนวโน้ม ว่ากลุ่มที่ใช้นวัตกรรมเสื้อเย็นอุณหภูมิลดลงมากกว่า และเมื่อจำแนกวิเคราะห์เป็น 2 กลุ่มย่อย คือในผู้ป่วยได้รับยาลดไข้และไม่ได้รับยาลดไข้พบว่าการใช้นวัตกรรม เสื้อเย็นได้ผลดีกว่าในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาลดไข้คือสามารถลดอุณหภูมิได้ตั้งแต่นาทีที่ 30 ขึ้นไป โดยใช้exact probability test p=0.012 สรุป : จากการพัฒนานวัตกรรมเสื้อเย็นลดไข้มีประโยชน์และใช้ได้ผลดีในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้ รับยาลดไข้จึงควรพิจารณานำนวัตกรรมเสื้อเย็นมาใช้ในการลดไข้ในหอผู้ป่วย เพื่อลด การเช็ดตัวลดไข้ซึ่งเป็นการรบกวนผู้ป่วยบ่อยครั้ง
 
ที่มา
วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ปี 2564, May-August ปีที่: 36 ฉบับที่ 2 หน้า 427-436
คำสำคัญ
การผ่าตัดสมอง, hyperthermia, Brain Surgery, Brain Trauma, Temperature reducing jacket, ภาวะตัวร้อนเกิน, การบาดเจ็บที่สมอง, เสื้อลดอุณหภูม