ผลของการออกกำลังกายแบบฤๅษีดัดตนต่อความสามารถในการทรงตัวและคุณภาพชีวิตในผู้หญิงวัยกลางคนที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้น
ปริยาภัทร สิงห์ทอง*, ภัคศจีภรณ์ ขันทอง, กัญญ์ณณัฐ เทพสุริยานนท์, อรชร ดวงแก้ว
คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการออกกําลังกายแบบฤาษีดัดตนต่อการทรงตัวและ คุณภาพชีวิตในผู้หญิงวัยกลางคนที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หญิงวัยกลางคนที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม ระยะเริ่มต้น จำนวน 16 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย วีดิทัศน์การออกกําลังกายแบบฤาษีดัดตน การทดสอบความสามารถด้านการทรงตัว แบบประเมินคุณภาพชีวิตของ องค์การอนามัยโลก ฉบับย่อภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) และแบบประเมินความพึงพอใจ ดำเนินการทดลอง และเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2559 ถึง มิถุนายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้สถิติ Wilcoxon signed rank test และสถิติ Mann - Whitney U test ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลองในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย ความสามารถในการทรงตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.05) 2) หลังการทดลองค่าเฉลี่ยความสามารถในการทรงตัว ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.0) 3) หลังการทดลองค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย
ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านคุณภาพชีวิตโดยรวมของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p<.01) จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า การออกกําลังกายแบบฤาษีดัดตนในผู้หญิงวัยกลางคน ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้นเป็นแนวทางหนึ่งที่ทําให้ความสามารถในการทรงตัวและคุณภาพชีวิตดีขึ้น
 
ที่มา
วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ปี 2564, January-April ปีที่: 31 ฉบับที่ 1 หน้า 33-44
คำสำคัญ
Quality of life, Knee osteoarthritis, คุณภาพชีวิต, การทรงตัว, คุณภาพชี่วิต, ฤๅษีดัดตน, balance ability, Ruesi Dadton, ภาวะข้อเข่าเสื่อม