ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังผ่านสมาร์ตโฟนแอปพลิเคชันต่อสถานะทางคลินิกในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
จิณห์สุดา ทัดสวน, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ*, ศรินรัตน์ ศรีประสงค์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 e-mail: doungrut.wat@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังผ่านสมาร์ตโฟนแอปพลิเคชัน ต่อสถานะทางคลินิกในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอายุ 40 ปีขึ้นไปจำนวน 60 รายที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่มโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลปกติร่วมกับโปรแกรมการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังผ่านสมาร์ตโฟนแอปพลิเคชัน ซึ่งพัฒนาขึ้นจากกรอบแนวคิด Information–Motivation–Behavioral Skillsmodel ระยะเวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ ประเมินผลสถานะทางคลินิก โดยใช้แบบสอบถามทางคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบทีแบบสองกลุ่มอิสระและ แบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน
ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 93.3 และร้อยละ 83.3 ตามล าดับ กลุ่มทดลองมีอายุเฉลี่ย 64.63 ปี กลุ่มควบคุมอายุเฉลี่ย 62.70 ปี ก่อนการทดลองกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีสถานะทางคลินิกไม่แตกต่างกัน (p > .05) หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีสถานะทางคลินิกดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังผ่านสมาร์ตโฟนแอปพลิเคชันช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วย มีสถานะทางคลินิกที่ดีขึ้น พยาบาลควรนำโปรแกรมการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังผ่านสมาร์ตโฟนแอปพลิเคชันมาใช้ในการให้ความรู้ เสริมแรงจูงใจ และส่งเสริมทักษะและความสม่ำเสมอในการใช้ยาสูดในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ที่มา
Nursing Science Journal of Thailand ปี 2564, July-September
ปีที่: 39 ฉบับที่ 3 หน้า 17-32
คำสำคัญ
ภาวะสุขภาพ, Chronic obstructive pulmonary disease, Health status, ปอดอุดกั้นเรื้อรัง, mobile applications, โมบายแอปพลิเคชัน