ความปลอดภัยในการฉีดยาม็อกซิฟลอกซาซินเข้าช่องหน้าลูกตาเพื่อป้องกันการติดเชื้อในลูกตาหลังการผ่าตัดสลายต้อกระจก
ชิดชนก รุ่งรัตนาอุบลกลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลพระพุทธชินราช พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
บทคัดย่อ
ภาวการณ์ติดเชื้อในลูกตาหลังการผ่าตัดสลายต้อกระจกแม้เกิดได้น้อยแต่ทำให้เกิดภาวะพิการทางสายตาอย่างถาวรได้ มีผลงานวิจัยว่าการฉีดยาม็อกซิฟลอกซาซินเข้าช่องหน้าลูกตาหลังการผ่าตัดสลายต้อกระจกสามารถป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัดได้ การวิจัยแบบวิเคราะห์ชนิดมีกลุ่มเปรียบเทียบนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความปลอดภัยต่อลูกตาในการใช้ยาม็อกซิฟลอกซาซินฉีดเข้าช่องหน้าลูกตาเพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังการผ่าตัดสลายต้อกระจกโดยศึกษาข้อมูลไปข้างหน้าระหว่าง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 ถึง เดือน ธันวาคมพ.ศ. 2562 ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นต้อกระจก 90 คน 100 ตา สุ่มด้วยวิธีจับฉลากแบ่งเป็น 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่ม มีจำนวนผู้ป่วย 50 ตา กลุ่มศึกษาจะได้รับยาม็อกซิฟลอกซาซิน 500 ไมโครกรัมต่อ 0.1 มิลลิลิตรฉีดเข้าช่องหน้าลูกตา หลังการผ่าตัดสลายต้อระจกกลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับยาฉีดม็อกซิฟลอกซาซินหลังการผ่าตัดสลายต้อกระจกผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางคลินิกของทั้งสองกลุ่มก่อนผ่าตัดไม่แตกต่างกัน หลังการผ่าตัด 6 สัปดาห์ ค่าการมองเห็นที่ดีที่สุด ค่าความดันลูกตา ค่าความหนาส่วนกลางกระจกตา จำนวนเซลล์กระจกตาชั้นในและค่าความหนาจุดรับภาพชัดส่วนกลางจอตาของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน รวมทั้ง ไม่พบภาวะการติดเชื้อในลูกตาและภาวะ toxic anterior segment syndrome หลังผ่าตัดทั้ง 2 กลุ่ม สรุปได้ว่าไม่พบผลข้างเคียงจากการใช้ยาหยอดตา 0.5% ม็อกซิฟลอกซาซินฉีดเข้าช่องหน้าลูกตาหลังการผ่าตัดสลายต้อกระจก
มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความปลอดภัยต่อลูกตาในการใช้ยาม็อกซิฟลอกซาซินฉีดเข้าช่องหน้าลูกตาเพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังการผ่าตัดสลายต้อกระจกโดยศึกษาข้อมูลไปข้างหน้าระหว่าง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 ถึง เดือน ธันวาคมพ.ศ. 2562 ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นต้อกระจก 90 คน 100 ตา สุ่มด้วยวิธีจับฉลากแบ่งเป็น 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่ม มีจำนวนผู้ป่วย 50 ตา กลุ่มศึกษาจะได้รับยาม็อกซิฟลอกซาซิน 500 ไมโครกรัมต่อ 0.1 มิลลิลิตรฉีดเข้าช่องหน้าลูกตา หลังการผ่าตัดสลายต้อระจกกลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับยาฉีดม็อกซิฟลอกซาซินหลังการผ่าตัดสลายต้อกระจกผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางคลินิกของทั้งสองกลุ่มก่อนผ่าตัดไม่แตกต่างกัน หลังการผ่าตัด 6 สัปดาห์ ค่าการมองเห็นที่ดีที่สุด ค่าความดันลูกตา ค่าความหนาส่วนกลางกระจกตา จำนวนเซลล์กระจกตาชั้นในและค่าความหนาจุดรับภาพชัดส่วนกลางจอตาของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน รวมทั้ง ไม่พบภาวะการติดเชื้อในลูกตาและภาวะ toxic anterior segment syndrome หลังผ่าตัดทั้ง 2 กลุ่ม สรุปได้ว่าไม่พบผลข้างเคียงจากการใช้ยาหยอดตา 0.5% ม็อกซิฟลอกซาซินฉีดเข้าช่องหน้าลูกตาหลังการผ่าตัดสลายต้อกระจก
ที่มา
พุทธชินราชเวชสาร ปี 2564, January-April
ปีที่: 38 ฉบับที่ 1 หน้า 2-8
คำสำคัญ
Phacoemulsification, endophthalmitis, intracameral injection, moxifloxacin, การติดเชื้อในลูกตา, การฉีดยาเข้าช่องหน้าลูกตา, ม็อกซิฟลอกซาซิน, การผ่าตัดสลายต้อกระจก