ผลลัพธ์การรักษาด้านคุณภาพชีวิตและภาพลักษณ์ของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่กลุ่มช่วงอายุ 10 ปี
พลากร สุรกุลประภา, สุธีรา ประดับวงษ์*, ยุพิน ปักกะสังข์, กมลวรรณ เจนวิถีสุข, พูนศักดิ์ ภิเศก, บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น
ศูนย์วิจัยผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ จำเป็น ต้องได้รับการรักษาโดยทีมสหวิทยาการและใช้เวลาการรักษาที่ นาน ความผิดปกติส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและภาพลักษณ์ ความสวยงามในผู้ป่วยวัยแรกรุ่น วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ในผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่กลุ่มช่วงอายุ 10 ปี ที่เข้ารับการรักษาอย่างต่อ เนื่องจากศูนย์ตะวันฉาย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2562 จำนวน 30 ราย เครื่องมือคือแบบสอบถามคุณภาพ ชีวิต 5 ด้าน จำนวน 41 ข้อ มีค่าความเที่ยง 0.86 และภาพถ่าย ผู้ป่วยหน้าตรงด้านข้างเพื่อประเมินภาพลักษณ์ 4 มิติ ให้ค่า คะแนนความสวยงาม 5 ระดับจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 53.3 มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ข้างเดียวชนิดสมบูรณ์ ร้อยละ 63.3 ส่วนใหญ่พ่อแม่เป็นผู้ดูแลหลักและเรียนจบชั้นประถมศึกษาร้อย ละ 73.3 รายได้ครอบครัวต่อเดือนอยู่ในช่วง 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 30 ส่วนคุณภาพชีวิต 5 ด้าน ได้แก่ การบริการ พบ ว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.30±0.98) ด้านการ รักษาพยาบาลและค่ารักษาพยาบาล มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (3.72±1.15),(3.70±1.14) ส่วนความพึงพอใจของผู้ ปกครองในมิติจิตสังคมและผลกระทบต่อครอบครัวอยู่ในระดับ ปานกลาง (3.33±1.08), (2.81±1.46) ด้านภาพลักษณ์ของ ใบหน้า ส่วนใหญ่มีค่าคะแนนเฉลี่ยความสวยงามอยู่ในระดับดี ร้อยละ 53.3 สรุป: ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชายและมีภาวะปากแหว่งเพดาน โหว่ข้างเดียวชนิดสมบูรณ์ ผู้ปกครองให้ความเห็นว่ามีคุณภาพ ชีวิตระดับดีถึงดีมาก 3 ด้าน และระดับปานกลาง 2 ด้าน ด้าน ภาพลักษณ์ส่วนใหญ่มีค่าคะแนนเฉลี่ยความสวยงามอยู่ในระดับ ดี
 
ที่มา
ศรีนครินทร์เวชสาร ปี 2564, May-June ปีที่: 36 ฉบับที่ 3 หน้า 340-346
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, คุณภาพชี่วิต, Cleft lip and Palate, Nasolabial appearance 4 dimension, ปากแหว่งเพดานโหว่, ภาพลักษณ์ 4 มิติ