ภาวะสุขภาพ ภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์ จังหวัดนครราชสีมา
สิริรัตน์ ฉัตรชัยสุชา*, พรรณงาม พรรณเชษฐ์, วัลภา สุนทรณัฏ, บุษยา วงษ์ชวลิตกุลคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพ ภาวะซึมเศร้าและ คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 149 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามภาวะสุขภาพ แบบ วัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ และแบบวัดคุณภาพชีวิต SF-36 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Mann-Whitney U test และ Kruskal Wallis test
ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุมีประวัติการเจ็บป่วยภายใน 6 เดือน ด้วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 42.95 ต้อกระจก ร้อยละ 17.44 ข้อเสื่อม ร้อยละ 15.43 เบาหวาน ร้อยละ 14.09 สมองเสื่อม ร้อยละ 11.40 โรคกระเพาะอาหาร ร้อยละ 6.71 ต้อหิน ร้อยละ 6.04 โรคหัวใจ ร้อยละ 5.0 โรคพาร์คินสัน ร้อยละ 4.69 ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.37 และระดับรุนแรง ร้อยละ 50 ค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่สถานสงเคราะห์คนชราฯ ทั้ง 2 แห่ง มีความแตกต่างอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ด้านคุณภาพชีวิต พบว่าผู้สูงอายุมีความพอใจกับคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ร้อยละ 52.46 และพอใจด้านจิตใจ ร้อยละ 52.93 โดยค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านจิตใจในมิติด้าน พละกำลังและภาวะทางอารมณ์ ต่ำ สุด เท่ากับร้อยละ 51.43 และ 52.86
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัยคือ ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะประเด็นปัญหาภาวะ ซึมเศร้าเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ ซึ่งค่อนข้างแตกต่างจาก ผู้สูงอายุที่อยู่กับครอบครัว
ที่มา
Thai Red Cross Nursing Journal ปี 2564, July-December
ปีที่: 12 ฉบับที่ 2 หน้า 165-178
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, ภาวะสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, Health status, Older persons, คุณภาพชี่วิต