ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่าต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคข้อผลเข่าเสื่อม
โชติกา สาระปัญญา, ปชาณัฏฐ์ นันไทยทวีกุล*
คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ
เหตุผลของการทำวิจัย: โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่อันตรายจนคุกคามถึงแก่ชีวิต แต่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลทำให้ผู้ป่วยเกิดความไม่ ผาสุกหรือคุณภาพชีวิตลดลง ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ทำให้ผู้ป่วยเห็น ความสำคัญและศักยภาพของตนเองในการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่า โดยการออกกำลังกาย เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการฟื้นฟู สมรรถภาพข้อเข่าต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม วิธีการทำวิจัย: อาสาสมัครผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมซึ่งมารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์จำนวน 44 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยการศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบ่ง เป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 ราย จับคู่กลุ่มตัวอย่างตาม อายุ เพศ และระยะเวลาการเจ็บป่วย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่าเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ร่วมกับการพยาบาลตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่า แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนใน การออกกำลังกาย และแบบบันทึกการปฏิบัติฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินคุณภาพชีวิต สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการศึกษา: พบว่าภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการฟื้นฟู สมรรถภาพข้อเข่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) และค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) สรุป: โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่าสามารถเพิ่มการ รับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม และการออกกำลังกายส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมดีขึ้น
 
ที่มา
Chulalongkorn Medical Bulletin ปี 2562, July-August ปีที่: 1 ฉบับที่ 4 หน้า 337-348
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Rehabilitation, self-efficacy, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, คุณภาพชี่วิต, patients with osteoarthritis of knee, ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม, การฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่า