การใช้กระจกร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับเปรียบเทียบกับการให้คำแนะนำในการสอนบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเพื่อป้องกันการเกิดภาวะปัสสาวะเล็ดในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์:การทดลองแบบสุ่ม
จิณัฐนภัส ธนาพงศ์ศิริกุล*, มาลีชาติ ศรีพิพัฒนะกุล, ทุมวดี ตั้งศิริวัฒนา
Department of Obstetrics and Gynecology, KhonKaen Hospital, KhonKaen, 40000, Thailand; E-mail: jinutnapas@gmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการสอนบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานโดยใช้กระจกร่วมกับการให้ข้อมูลย้อน กลับในการฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเพื่อป้องกันการเกิดภาวะปัสสาวะเล็ดในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์
วัสดุและวิธีการ: สตรีตั้งครรภ์เดี่ยวและครรภ์แรกที่ไม่มีภาวะปัสสาวะเล็ดมาก่อนทั้งหมด116 ราย ถูกสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มศึกษาวิจัยจะได้รับการสอนบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยใช้กระจกร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับตัวต่อตัวจากแพทย์ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน กลุ่มควบคุมจะได้รับเพียงความรู้เกี่ยวกับการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ภายหลังเสร็จสิ้นการฝึกการเกิดภาวะปัสสาวะเล็ด จะได้รับการประเมินอาการของระบบปัสสาวะรวมถึงคุณภาพชีวิตจะได้รับการประเมินจากแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะปัสสาวะเล็ดและกระบังลมหย่อนและการจดบันทึกจำนวนครั้งของการปัสสาวะเล็ด
ผลการศึกษา: หลังจากครบระยะเวลาการพบว่าอุบัติการของการเกิดภาวะปัสสาวะเล็ดในกลุ่มควบคุมสูงกว่ากลุ่มศึกษา วิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 18.2 ในกลุ่มทดลอง และร้อยละ 1.9 ในกลุ่มศึกษาวิจัย)
สรุป: การสอนบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานโดยใช้กระจกร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับในการฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้ง เชิงกรานมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดภาวะปัสสาวะเล็ดในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์
 
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2564, May-June ปีที่: 29 ฉบับที่ 3 หน้า 169-176
คำสำคัญ
Pregnancy, การตั้งครรภ์, Pelvic floor muscle training, Urinary incontinence, ปัสสาวะเล็ด, การสอนบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน