ประสิทธิภาพของยาชาชนิดพ่นเอทธิลคลอไรด์กับยาชาชนิดฉีดใต้ผิวหนังลิโดเคน 1% ในการลดความเจ็บปวดจากการถอดยาฝังคุมกำ เนิดชนิดหนึ่งหลอด: การทดลองปกปิดทางเดียวแบบสุ่ม
นารถลดา มาไพศาลกิจ, พิชญ์ จันทร์ดียิ่ง, Sasikan Tangthasana*
Department of Obstetrics and Gynecology, Charoenkrung Pracharak Hospital, 8 Charoenkrung Road, Bangkholaem, Bangkok 10120, Thailand; Email: s.tangthasana@gmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินคะแนนความเจ็บปวดระหว่างการใช้ยาชาชนิดพ่นเอทธิลคลอไรด์กับยาชาชนิดฉีดใต้ผิวหนัง ลิโดเคน 1% ในการลดความเจ็บปวดจากการถอดยาฝังคุมกำเนิดชนิดหนึ่งหลอด วัสดุและวิธีการ: สตรีผู้มารับบริการถอดยาฝังคุมกำเนิดชนิดหนึ่งหลอดจำนวน 120 คน ถูกสุ่มให้ได้รับการระงับความรู้สึก เป็นกลุ่มที่ได้ยาชาชนิดพ่นเอทธิลคลอไรด์หรือยาชาชนิดฉีดใต้ผิวหนังลิโดเคน 1% ก่อนการทำหัตถการ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทางคลินิก รวมถึงระดับความลึกของยาฝังคุมกำเนิด ประเมินระดับความเจ็บปวดขณะการบริหารยาชา, ระหว่างการทำ หัตถการ, และความเจ็บปวดโดยรวม โดยใช้ visual analog scale (VAS) ประเมินระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมวิจัยและผู้ช่วยทำหัตถการ โดยผู้ประเมินผลการวิจัยจะถูกปกปิดวิธีการระงับความรู้สึกที่ผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับ
ผลการศึกษา: ข้อมูลทางคลินิกของผู้ป่วยทั้งหมดไม่แตกต่างกันระหว่างทั้งสองกลุ่ม ระดับความเจ็บปวดขณะการบริหารยาชา และระดับความเจ็บปวดโดยรวมในกลุ่มที่ได้ยาชาชนิดพ่นเอทธิลคลอไรด์ต่ำ กว่ากลุ่มที่ได้ยาชาชนิดฉีดใต้ผิวหนังลิโดเคนอย่าง มีนัยสำคัญ (ค่ามัธยฐานความเจ็บปวดประเมินโดย VAS 0 และ 3; p < 0.001 และค่ามัธยฐานความเจ็บปวดประเมินโดย VAS 1 และ 2.9; p < 0.001 ตามลำ ดับ) แต่อย่างไรก็ตามระดับความเจ็บปวดระหว่างการทำ หัตถการในกลุ่มที่ได้ยาชาชนิดพ่นเอทธิลคลอไรด์สูงกว่ากลุ่มที่ได้ยาชาชนิดฉีดใต้ผิวหนังลิโดเคนอย่างมีนัยสำคัญ (ค่ามัธยฐานความเจ็บปวดประเมินโดย VAS 1 และ 0; p = 0.001)ระยะเวลาที่ใช้ในการถอดยาฝังคุมกำ เนิดในกลุ่มที่ได้ยาชาชนิดพ่นเอทธิลคลอไรด์สั้นกว่ากลุ่มที่ได้ยาชาชนิดฉีดใต้ผิวหนังลิโดเคนอย่างมีนัยสำคัญ คะแนนความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมวิจัยและผู้ช่วยทำหัตถการในกลุ่มที่ได้ยาชาชนิดพ่นเอทธิลคลอไรด์สูงกว่ากลุ่มที่ได้ยาชาชนิดฉีดใต้ผิวหนังลิโดเคนอย่างมีนัยสำคัญ
สรุป: การใช้ยาชาชนิดพ่นเอทธิลคลอไรด์มีประสิทธิภาพในการลดความการลดความเจ็บปวดขณะการบริหารยาชาและระดับ ความเจ็บปวดโดยรวมจากการถอดยาฝังคุมกำเนิดชนิดหนึ่งหลอด แต่สัมพันธ์กับคะแนนความเจ็บปวดที่เพิ่มขึ้นระหว่างการทำหัตถการ
 
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2564, March-April ปีที่: 29 ฉบับที่ 2 หน้า 82-91
คำสำคัญ
pain, Lidocaine, ลิโดเคน, ความเจ็บปวด, ethyl chloride spray, contraceptive implant, implant removal, ยาพ่นเอทธิลคลอไรด์, ยาฝังคุมกำ เนิด, การถอดยาฝัง