ผลของการนวดไทยต่อการเริ่มต้นเจ็บครรภ์คลอดและระยะที่หนึ่งของการคลอด: การทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุม
อัจฉรา ชัยชาญ, ศศิธร พุมดวง*
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ E-mail: sasitorn.ph@psu.ac.th
บทคัดย่อ
หลากหลายวิธีการชักนำการคลอดที่ถูกแนะนำให้ใช้เพื่อกระตุ้นการเริ่มต้นการเจ็บครรภ์คลอด อย่างไรก็ตามวิธีการเหล่านี้มีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ การนวดเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับการชักนำ การคลอดและลดระยะเวลาของการคลอด เนื่องจากการนวดสามารถเพิ่มระดับของฮอร์โมนออกซิโตซิน ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดข้อมูลทางเดียว เพื่อศึกษาผลของการนวดไทยต่อการเริ่มต้นการเจ็บครรภ์คลอดและระยะที่หนึ่งของการคลอด กลุ่ม ตัวอย่างคือสตรีครรภ์แรกที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์การคัดเข้าของงานวิจัย ใช้วิธีมินิไม แรนดอมไมเซชัน (minimized randomization) ในการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองมีจำนวน 24 ราย ได้รับการนวดไทย 40 นาที สัปดาห์ละครั้ง เมื่ออายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ จนกระทั่งอายุครรภ์ ครบ 40 สัปดาห์ หรือเกิดการเริ่มต้นการเจ็บครรภ์คลอด กลุ่มควบคุมมีจำนวน 27 ราย ได้รับการดูแล ตามปกติ ระยะเวลาของการเริ่มต้นการเจ็บครรภ์คลอดประเมินเป็นชั่วโมงจากอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ถึงเริ่มมีการหดรัดตัวของมดลูกอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อชั่วโมง และระยะที่หนึ่งของ การคลอดประเมินเป็นชั่วโมงจากการเริ่มต้นการเจ็บครรภ์คลอดจนถึงปากมดลูกเปิดหมด (10 เซนติเมตร) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติการทดสอบไคสแควร์และสถิติการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่าการนวดไทยสัปดาห์ละครั้ง ไม่เพียงพอต่อการชักนำการคลอด อย่างไร ก็ตามพบว่ากลุ่มที่ได้รับการนวดไทยมีระยะที่หนึ่งของการคลอดสั้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ดังนั้นพยาบาล หรือสามีและญาติของสตรีตั้งครรภ์ควรถูกฝึกการใช้วิธีนวดไทยเพื่อลดระยะเวลา ของการคลอด
 
ที่มา
Pacific Rim International Journal of Nursing Research ปี 2564, April-June ปีที่: 25 ฉบับที่ 2 หน้า 285-297
คำสำคัญ
Duration of labor, การนวดไทย, massage, การนวด, ระยะที่หนึ่งของการคลอด, Thai traditional massage, first stage of labor, Onset of labor, ระยะของการคลอด, การเริ่มต้นเจ็บครรภ์คลอด