คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
พิชชุดา วิทวัสสำราญกุล
โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่เข้ามารับบริการแบบผู้ป่วยนอก คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาการของผู้ป่วยและ คุณภาพชีวิตของผู้ดูแล และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล
วิธีการศึกษา : การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิจัยพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ทำการศึกษาในผู้ดูแล ผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ได้รับการวินิจฉัยตามเกณฑ์ ICD-10 ที่เข้ามารับบริการแบบผู้ป่วยนอก คลินิกจิตเวช โรงพยาบาล พระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ในช่วง กุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2563 จำนวน 57 ราย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) และแบบประเมินความรุนแรงของอาการของผู้ป่วยจิตเภท Positive and Negative Syndrome Scale ฉบับภาษาไทย (PANSS-T) ข้อมูลที่ได้นำมาแจกแจงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้สถิติ Pearson correlation coefficient เพื่อ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของอาการผู้ป่วยและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล
ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 96.89±11.05 คะแนน ส่วนใหญ่อยู่ใน ระดับคุณภาพชีวิตที่ดี คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลมีความสัมพันธ์ในทิศทางลบกับระดับความรุนแรงของกลุ่มอาการ ด้านบวก กลุ่มอาการด้านลบ และจิตพยาธิสภาพทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.049, p><.007, และ p><.001) ตามลดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล ได้แก่ จนวนบุตรของผู้ดูแล ความเพียงพอของรายได้ ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย และรายได้ต่อเดือนของผู้ป่วย สรุป : คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลมีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของอาการผู้ป่วย การดูแลผู้ป่วยอย่าง เป็นองค์รวมครอบคลุมทุกมิติจึงมีความสำคัญ ผลการศึกษาที่ได้นมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย โรคจิตเภทต่อไปในอนาคต><.049, p<.007, และ p<.001) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล ได้แก่ จำนวนบุตรของผู้ดูแล ความเพียงพอของรายได้ ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย และรายได้ต่อเดือนของผู้ป่วย
สรุป : คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลมีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของอาการผู้ป่วย การดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวมครอบคลุมทุกมิติจึงมีความสำคัญ ผลการศึกษาที่ได้นำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทต่อไปในอนาคต
 
ที่มา
วารสารแพทย์เขต 4-5 ปี 2564, January-March ปีที่: 40 ฉบับที่ 1 หน้า 19-29
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, ผู้ดูแล, CAREGIVERS, คุณภาพชี่วิต, อาการทางจิต, psychiatric symptoms, schizophrenia patients, ผู้ป่วยโรคจิตเภท