การเปรียบเทียบค่าระดับออกซิเจนในเลือดระหว่างการตั้งค่าเครื่องช่วยหายใจ ในเครื่องดมยาสลบแบบ Dynamic compliance directed positive end expiratory pressure (PEEP) เปรียบเทียบกับการตั้งค่าแบบ Conventional PEEP ในขณะที่ ผู้ป่วยได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย
พงษ์ศักดิ์ นิติการุญ*, ภูริลักษณ์ รัตนวิจารณ์
กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ประเทศไทย
บทคัดย่อ
บทนํา :  การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดลดลงเกิดภาวะแทรกซ้อนทางปอดหลังผ่าตัดได้ การตั้ง PEEP แบบต่าง ๆ ได้ค่าระดับออกซิเจนในเลือดระหว่างผ่าตัดได้ต่างกัน
วัตถุประสงค์ : ศึกษาผลการตั้ง PEEP ต่อการเปลี่ยนแปลงของออกซิเจนในเลือดระหว่างการผ่าตัดในการผ่าตัดแบบไม่ส่องกล้อง ขณะได้รับการดมยาสลบแบบทั่วตัวระหว่างกลุ่ม dynamic compliance directed PEEP กับกลุ่ม conventional PEEP
วิธีการศึกษา : เป็นการทดลองแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุมแบบ single-blind ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2564 หลังใส่ท่อช่วยหายใจและแทงเส้นเลือดแดงเปรียบเทียบค่า PaO2 , A-a gradient จาก arterial blood gas และวัดค่า peak airway pressure ในช่วงนาทีที่ 1-5 และช่วงเวลานาทีที่ 10-15 ระหว่างกลุ่ม dynamic compliance directed PEEP กับกลุ่ม conventional PEEP
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยเข้าร่วมการวิจัย 30 คน ค่า PaO2 นาทีที่ 10-15 ในกลุ่ม dynamic compliance directed PEEP มีค่าสูงกว่ากลุ่ม conventional PEEP (P-value=0.001) และคำนวนค่า A-a gradient นาทีที่ 10 ในกลุ่ม dynamic compliance directed PEEP มีค่าต่ำกว่า กลุ่ม conventional PEEP (P-value=0.001)
สรุป : dynamic compliance directed PEEP ทำให้ค่าออกซิเจนในเลือดขณะผ่าตัดดีขึ้นดีกว่าแบบ conventional PEEP
 
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2564, July-September ปีที่: 47 ฉบับที่ 3 หน้า 204-209
คำสำคัญ
General anesthesia, dynamic compliance, positive end expiratory pressure, การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย, การขยายตัว ของปอดแบบพลวัต, แรงดันบวกขณะหายใจออก