การรับประทานโสมไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับกักกั้นของแล็กเตทและสมรรถภาพทางกายในชายไทยสุขภาพดี
วิไล อโนมะศิริ, ศิริวรรณ ธนาคมศิริโชติ, อรอนงค์ กุละพัฒน์*
Department of Physiology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand. Phone & Fax: 0-2256-4267, E-mail: onanongt@hotmail.com
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: โสมเป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยมและเชื่อกันว่ามีผลเพิ่มสมรรถภาพการออกกำลังกายได้ ข้อมูลยังไม่ชัดเจนว่าโสมมีผลต่อระดับกักกั้นของแล็กเตทและสมรรถภาพการออกกำลังกายแบบแอโรบิคในคนวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการบริโภคโสมต่อระดับกั กกั้นของแล็กเตทในชายไทยสุขภาพดีวัสดุและวิธีการ: กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโครงการศึกษาวิจัยเป็นนักเรียนจ่าพยาบาลของกองทัพเรือจำนวน 60 คน อายุระหว่าง 17-22 ปี ได้ทำการจับสลาก เพื่อแบ่งกลุ่มอาสาสมัครเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับโสมจำนวน 30 คน และกลุ่มที่ได้รับสารหลอกจำนวน 30 คน กลุ่มโสมรับประทานผงโสม 100% เป็นปริมาณ 3 กรัม ต่อวัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ อีกกลุ่มรับประทานสารหลอกเป็นผงแล็กโทสในปริมาณเท่ากัน ทำการทดสอบวัดระดับกรดแล็กติกในเลือดในระหว่างการปั่นจักรยานเพื่อคำนวณหาระดับกัก กั้นของแล็กเตท การศึกษาระดับกักกั้นของแล็กเตท สมรรถภาพการออกกำลังกาย และการตอบสนองของอัตราการบีบตัวของหัวใจขณะออกกำลังกายทำทั้งก่อนและหลังการรับประทานโสมหรือสารหลอก ส่วนอัตราของซับสเตรทออกซิเดชันทำการศึกษา ภายหลังสิ้นสุดการบริโภคโสม ทำการหาค่าตัวบ่งชี้บางตัวของการทำงานของตับและไต เพื่อได้ทำการติดตามผลเสียจากการรับประทานโสมหรือสารหลอกที่อาจมีต่อตับและไตผลการศึกษา: ค่าระดับกักกั้นของแล็กเตทที่วัดก่อนและหลังการรับประทานโสมหรือสารหลอกในกลุ่มโสม (164.5 ± 32.8 และ 170.9 ± 26.4 วัตต์) มีค่าไม่แตกต่าง (p = 0.448) จากของกลุ่มสารหลอก (163.7 ±25.1 และ 163.7 ± 17.3 วัตต์) ทั้งสองกลุ่มมีค่าเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการทดสอบสมรรถภาพทางกาย และค่างานสูงสุด ใกล้เคียงกันภายหลังจาก 8 สัปดาห์ของการทดลอง พบว่าค่าความแตกต่างของอัตราออกซิเดชันของไขมันและคาร์โบไฮเดรตระหว่างกลุ่มไม่มีนัยสำคัญทางสถิติไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของตัวบ่งชี้ของหน้าที่การทำงานของตับและไตจากการรับประทานโสมสรุป: การบริโภคโสมในปริมาณ 3 กรัมต่อวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ไม่ ทำให้ เกิ ดการเปลี่ยนแปลงของระดับกักกั้นของแล็กเตทและสมรรถภาพทางกาย ดังนั้นการศึกษานี้ไม่พบว่าโสมมี คุณสมบัติเป็นตัวส่งเสริมสมรรถภาพด้านแอโรบิคในบุคคลที่มีร่างกายฟิต
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2550, June ปีที่: 90 ฉบับที่ 6 หน้า 1172-1179
คำสำคัญ
Exercise performance, Ginseng, Lactate threshold