ประสิทธิผลของสารสกัดกัญชา คลินิกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลลำปาง
ปิยวรรณ เหลืองจิรโณทัย*, ศิริพร ปาละวงศ์, ทัศนีย์ กามล
กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลลำปาง
บทคัดย่อ
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้กำ หนดให้กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่ห้าม
มิให้ผู้ใดเสพหรือนำ ไปใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยหรือนำ ไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์และยังกำหนดโทษทั้งผู้เสพและผู้ครอบครองด้วย ส่งผลให้ไม่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้สารสกัดกัญชาในประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมา ทั้งที่มีการใช้ประโยชน์ของกัญชาในทางการแพทย์มาเป็นระยะเวลานานแล้ว พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562บัญญัติขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้สามารถนำกัญชาไปทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และสามารถนำไปใช้ในการรักษาโรคภายใต้การดูแลและควบคุมของแพทย์ได้ โครงการนำร่องคลินิกกัญชาทางการแพทย์โดยโรงพยาบาลลำ ปางเป็นตัวแทนเขต 1 ได้มีโอกาสในการนำ สารสกัดกัญชามาใช้ในการรักษาโรค โดยสารสกัดกัญชาที่ได้นำมาใช้ในการศึกษา ได้แก่ GPO THC oil 0.5 mg/drop การวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาว่าเมื่อได้รับสารสกัดกัญชาไปแล้วผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นหรือไม่ในแต่ละครั้งที่มาติดตามการรักษา จึงทำการศึกษาแบบ Time series study เก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดกัญชาที่มารับการรักษาที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลลำ ปาง ตั้งแต่ 28 ส.ค. 2562 ถึง 30 มิ.ย. 2563 เก็บข้อมูลประสิทธิผลโดยใช้แบบสอบถาม EQ-5D-5L ในการสอบถามคุณภาพชีวิต และใช้ Pain score ในการวัดภาวะปวด เปรียบเทียบประสิทธิผลหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับสารสกัดกัญชาในแต่ละครั้งที่มาติดตามการรักษา ด้วยวิธี repeated measure ANOVA และ Friedman test ผลการศึกษาพบว่าในผู้ป่วยทั้งหมด 85 ราย ร้อยละ 41 เคยใช้กัญชามาก่อน เป็นเพศชาย ร้อยละ 54 อายุเฉลี่ย 59.4 ± 12 ปี มีข้อบ่งใช้ส่วนใหญ่ เป็นการรักษาแบบประคับประคอง ร้อยละ 53 รองลงมาได้แก่ภาวะปวด ร้อยละ 40 ไมเกรน นอนไม่หลับ และภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัดร้อยละ 4, 2 และ 1 ตามลำ ดับ ในด้านประสิทธิผล มีผู้ป่วยที่ติดตามได้จำ นวน 50 ราย เมื่อพิจารณาเรื่องคุณภาพชีวิตและ pain score โดยได้ติดตามในช่วงเวลาที่ศึกษาทุกครั้งที่มาพบแพทย์ 10 ครั้ง พบว่าค่ากลางของคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (0.016 (-0.131,0.279); -0.283-0.960 vs 0.132 (-0.204,0.703);-0.204-0.703, p < 0.001)เช่นเดียวกันกับภาวะปวด พบว่าผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยของภาวะปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (8.24 ± 2.3 vs 5.00 ± 2.0, P < 0.001) ด้านความปลอดภัย ใช้การประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากยาด้วย Naranjo’s algorithm พบในผู้ป่วย 9 ราย (ร้อยละ 10.6) โดยต้องหยุดยาจำ นวน 3 ราย เนื่องจากเกิดอาการ cannabis-induced psychosis 1 ราย, disorientation 1 ราย และ abnormal blood pressure 1 ราย สามารถใช้ยาต่อได้ 6 ราย โดยมีอาการดังนี้ คือ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ปากแห้ง ใจสั่น นอนไม่หลับ และภาวะเคลิ้มสุข ดังนั้น จากการศึกษานี้สามารถบอกได้ว่าการใช้สารสกัดกัญชาสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และลดภาวะปวด สามารถพิจารณาเป็นการรักษาที่เป็นทางเลือกให้กับผู้ป่วยได้
 
ที่มา
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปี 2564, January-April ปีที่: 19 ฉบับที่ 1 หน้า 19-33
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, pain score, คุณภาพชี่วิต, ระดับความปวด, cannabis extract, THC oil, medical cannabis clinic, สารสกัดกัญชา, คลินิกกัญชาทางการแพทย์