ต้นทุนต่อหน่วยและจุดคุ้มทุนของการรักษาโรคมะเร็งศีรษะและลำคอโดยเทคนิคการฉายรังสีแบบแปรความเข้มและการฉายรังสีแปรความเข้มเชิงปริมาตรแบบหมุนในโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี
สุรินทร์ อวดร่าง*, วิราศิณี เฉลิมชวลิต, สุรัฐญา ศิริอาชากุล, ยุพา ศรัณยูเศรษฐ์, พิมพ์จัน ปิ่นสุนทร, อิทธิฤทธิ์ คำฟอง
โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี 11/1 ถนนพหลโยธิน ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี 15000
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: การใช้รังสีรักษาด้วยเทคนิคการฉายรังสีแบบแปรความเข้ม (IMRT) และการฉายรังสีแปรความเข้มเชิงปริมาตรแบบหมุน (VMAT) เป็นการรักษาที่มีบทบาทหลักในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ แต่ต้องใช้ทรัพยากรบุคคล ต้นทุนค่าเครื่องมือและการบำรุงรักษามาก ตลอดจนต้องใช้เวลาในการวางแผนการรักษา การประกันคุณภาพ และระยะเวลาในการฉายรังสีนาน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาต้นทุนต่อหน่วยและจุดคุ้มทุนของการรักษาโรคมะเร็งศีรษะและลำคอโดยการฉายรังสีเทคนิค IMRT และ VMAT ในมุมมองของผู้ให้บริการ วิธีการ: ทำการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่เข้ารับการรักษาด้วย IMRT หรือ VMAT ในโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2561 ผล: ผลการศึกษาพบว่า การฉายรังสีด้วยเทคนิค IMRT มีต้นทุนทางตรงโดยเฉลี่ยประกอบด้วย ต้นทุนค่าแรง 6,850.68 บาท ค่าลงทุน 30,781.13 บาท ค่าวัสดุ 10,308.27 บาท มีต้นทุนทางอ้อม 9,588.02 บาท มีต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 57,528.09 บาทต่อคอร์ส จุดคุ้มทุนคือ จำนวนการฉายรังสี 47.03 คอร์ส/ ปี และการฉายรังสีด้วยเทคนิค VMAT มีค่าแรง 6,960.45 บาท ค่าลงทุน 67,465.01 บาท ค่าวัสดุ 10,504.97 บาท มีต้นทุนทางอ้อม 16,986.09 บาท ต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 101,916.52 บาท และมีจุดคุ้มทุนคือ จำนวนการฉายรังสี 148.17 คอร์ส/ ปี สรุป: การฉายรังสีด้วยเทคนิค IMRT มีต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 57,528.09 บาทต่อคอร์ส จุดคุ้มทุนคือ จำนวนการฉายรังสี 47.03 คอร์ส/ ปี และการฉายรังสีด้วยเทคนิค VMAT มีต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 101,916.52 บาท และมีจุดคุ้มทุนคือ จำนวนการฉายรังสี 148.17 คอร์ส/ ปี
 
 
ที่มา
Journal of The Department of Medical Services ปี 2563, October-December ปีที่: 45 ฉบับที่ 4 หน้า 75-80
คำสำคัญ
Unit cost, ต้นทุนต่อหน่วย, Break-even point, จุดคุ้มทุน, IMRT, VMAT, การฉายรังสีแบบแปร, ความเข้ม, การฉายรังสีแปรความเข้มเชิงปริมาตรแบบหมุน