การศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาซิลเดนาฟิลในชายเอเชียที่มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศและมีความเสี ่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
Christopher Chee, Rohan Malek Dato’Johan, Sahabudin Raja Mohamed, จรัล มาฮอลตา, พีระ บูรณะกิจเจริญ*, วีรพัฒน์ เงาธรรมทรรศน์, สมบุญ เหลืองวัฒนากิจ, อัมพิกา มังคละพฤกษ์
Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University, 2 Prannok Rd, Bangkoknoi, Bangkok 10700, Thailand. Phone: 0-2419-7790, E-mail: sipbn@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
                การศึกษาวิจัยแบบสุ่มปิดการรักษาทั้งสองทาง ที่มียาไม่ออกฤทธิ์เป็นตัวควบคุม แบบคู่ขนาน สหสถาบันในประเทศไทย มาเลเซีย และ สิงคโปร์ เพื่อประเมินประสิทธิผลของยา ซิลเดนาฟิล ในชายชาวเอเชียที่มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศและมีโรคต่อไปนี้ร่วมด้วย หนึ่ง หรือ สอง ชนิด คือโรคความดันโลหิตสูงระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ และ เบาหวาน อาสาสมัครชายรวมทั้งสิ้นจำนวน 155 รายได้รับการสุ่ม (2:1) เพื่อรับยาซิลเดนาฟิล (104 ราย) หรือยาไม่ออกฤทธิ์ (51 ราย) โดยยาซิลเดนาฟิลมีขนาดเริ่มต้นที่ 50 มิลลิกรัม ถ้ามีความจำเป็นอาจจะมีการปรับขนาดยาเพิ่มขึ้นเป็น 100 มิลลิกรัม หรือลดลงเป็น 25 มิลลิกรัมในสัปดาห์ที่ 2 การประเมินประสิทธิผลหลักโดยใช้แบบสอบถามสมรรถภาพทางเพศชาย (IIEF) ข้อ 3 และ 4 พบว่าอาสาสมัครในกลุ่มที่ได้รับยาซิลเดนาฟิล มีประสิทธิผลดีกว่าอาสาสมัครในกลุ่มที่ได้รับยาไม่ออกฤทธิ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และเมื่อประเมินผลจากคะแนนรวมของสมรรถภาพแต่ละด้าน (IIEF domains) พบว่ายาซิลเดนาฟิลยังคงมีประสิทธิผลดีอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่าอาสาสมัครที่ได้ รับยาซิลเดนาฟิลมีความพึงพอใจในการรักษาและประสบความสำเร็จในการมีเพศสัมพันธ์สูง อาการไม่พึงประสงค์ที่พบส่วนใหญ่มีความรุนแรงระดับเล็กน้อย อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยและมีความสัมพันธ์กับการรักษาคืออาการมึนศีรษะ (7.7%) และหูอื้อ (2.9%)
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2550, June ปีที่: 90 ฉบับที่ 6 หน้า 1100-1108
คำสำคัญ
Diabetes mellitus, Randomized controlled trial, Cardiovascular risk, Erectile dysfunction, Sildenafil