ประสิทธิผลในการใช้การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจผู้ดูแลในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุติดเตียง: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
อาณัติ มาตระกูล*, จรัญญา หุ่นศรีสกุล, อัจฉรา วัฒนาภา
ภาควิชาทันตกรรมป้องกัน คณะทันแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.สงขลา
บทคัดย่อ
เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจผู้ดูแลในการให้การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุติดเตียง เปรียบเทียบกับการให้ทันตสุขศึกษาแบบเดิม โดยการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาแบบผสมผสาน (mixed methods) โดยนำ เสนอในส่วนการศึกษาเชิงปริมาณ ศึกษาในผู้สูงอายุติดเตียงภายในจังหวัดกระบี่ที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้าแล้ว62รายและคงอยู่จนถึงขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูล
เชิงปริมาณ 54 รายแบ่งเป็นกลุ่มศึกษาที่ได้รับการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ 28 รายและกลุ่มควบคุมที่ได้รับ ทันตสุขศึกษาแบบเดิม 26 ราย ในระยะก่อนการศึกษา พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่ม ควบคุม ทั้งในส่วนของระดับแผ่นคราบจุลินทรีย์พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุและผู้ดูแล ยกเว้นลักษณะ อาหารที่ผู้สูงอายุรับประทาน จำนวนฟันแท้ของผู้สูงอายุระดับการศึกษาและอายุของผู้ดูแล(p < 0.05) เมื่อสิ้นสุดการศึกษา พบว่าพฤติกรรม
การดูแลช่องปากที่เหมาะสมในกลุ่มศึกษามีมากขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมในเรื่อง การแปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์การช้ำยาบ้วนปาก ความถี่ของการทำความสะอาดการตรวจสอบความสะอาดซ้ำ การสังเกตสภาพของช่องปากภายหลังการทำความสะอาดและระดับทัศนคติ ในการดูแลสุขภาพช่องปาก พบความแตกต่างของปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ภายในแต่ละกลุ่ม (p < 0.05)แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม
 
ที่มา
วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ ปี 2561, July-September ปีที่: 68 ฉบับที่ 3 หน้า 256-269
คำสำคัญ
ผู้ดูแล, Oral health, CAREGIVER, Motivational interviewing, สุขภาพช่องปาก, Bedridden elderly people, ผู้สูงอายุติดเตียง, การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ