ต้นทุนการเข้านอนรักษาในโรงพยาบาลกุมภวาปีของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ
กิดลดา กิตยคม*, ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช, สุพล ลิมวัฒนานนท์
กลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลกุมภวาปี อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี 41110; E-mail: ohhohe_kitteu@hotmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประมาณการต้นทุนการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลกุมภวาปีสำหรับโรคปอดอักเสบ (pneumonia) หาปัจจัยที่สัมพันธ์กับค่ารักษาพยาบาลและการกลับเข้านอนรักษาในโรงพยาบาลภายใน 28 วันและวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่ายาในระหว่างการนอนรักษา วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังโดยใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลในปีงบประมาณ 2558-2561 คิดต้นทุนค่ารักษาในมุมมองของโรงพยาบาล ผลการวิจัย: ในปีงบประมาณ 2558-2561 ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่นอนรักษาในโรงพยาบาลทั้งหมด 3,009ครั้ง ต้นทุนการรักษาพยาบาลต่อครั้งมีค่ามัธยฐาน6,497 บาท (พิสัยควอร์ไทล์ 3,828-15,160บาท)โดยคิดเป็นผู้ป่วยที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวน 1,679ครั้ง ปัจจัยซึ่งสัมพันธ์กับค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)ประกอบด้วย ช่วงอายุระหว่าง 15-59 ปีและ 60-74 ปี การเข้านอนโรงพยาบาลด้วยความรุนแรงของโรคร่วมและภาวะแทรกซ้อนในระดับมากถึงมากที่สุดเมื่อแบ่งความรุนแรงตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (diagnosis-related group) ผู้ป่วยที่มีวันนอนโรงพยาบาลตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป การท าหัตถการในระบบทางเดินหายใจและการใช้ยาปฏิชีวนะในบัญชียาหลักแห่งชาติ ประเภทบัญชี ง. ซึ่งต้องมีการประเมินการสั่งใช้(drug use evaluation) สำหรับโอกาสกลับเข้านอนรักษาในโรงพยาบาลภายใน 28วันไม่พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับต้นทุนค่ายาที่ใช้ระหว่างการนอนรักษา พบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 0.32ต่อไตรมาส (95% CI, ร้อยละ 0.08-0.56) สรุป: เพื่อลดค่าใช้จ่ายของการนอนรักษาโรคปอดอักเสบ โรงพยาบาลควรทบทวนการใช้ยาปฏิชีวนะในระหว่างการรักษาอย่างจริงจัง
 
ที่มา
วารสารเภสัชกรรมไทย ปี 2564, January-March ปีที่: 13 ฉบับที่ 1 หน้า 189-201
คำสำคัญ
ผู้ป่วยใน, Pneumonia, hospitalization costs, inpatients, antibiotic use, โรคปอดอักเสบ, ต้นทุนค่ารักษาพยาบาล, การใช้ยาปฏิชีวนะ