ความท้าทายในการดำเนินการศึกษาสมุนไพรไทยอย่างเป็นวิทยาศาสตร์: ประสิทธิผลและความปลอดภัยของเอสโตรเจนจากพืช Pueraria mirifica (กวาวเครือขาว) ระยะที่ 1 ในการบรรเทาอาการวัยเพศถอยในสตรีก่อนและหลังวัยหมดระดู
วีระพล จันทร์ดียิ่ง*, สุรชัย ล้ำเลิศกิตติกุล
Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla 90112, Thailand. Phone: 074-451-203, Fax: 074-429-617, E-mail: verapol.c@psu.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิผลเบื้องต้นและความปลอดภัยของ Pueraria mirifica (กวาวเครือขาว) เอสโตรเจนจากพืชในการบรรเทาอาการวัยเพศถอย หลังจากผ่านการศึกษาเกี่ยวกับพิษวิทยาในสัตว์ทดลองวัสดุและวิธีการ: สตรีก่อนและหลังวัยหมดระดูที่มาตรวจ ณ คลินิกวัยหมดระดู โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ ซึ่งมีอาการวัยเพศถอย ได้รับการคัดเลือกตามความสมัครและได้รับวัตถุดิบของกวาวเครือขาว ขนาดแคปซูลละ 50 และ 100 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน เป็นการศึกษาแบบปลายเปิดผลการศึกษา: จากผู้ป่วยจำนวน 10 คน มี 8 คนได้รับการประเมินอย่างครบถ้วน ค่า modified Greene climacteric scale ของทั้งสองกลุ่มลดลงเป็นที่น่าพอใจ ค่าเฉลี่ยจาก 44.1 เมื่อแรกเข้าสู่การศึกษา เหลือ 26, 17 และ 11.1 ในเดือนที่ 1, 3 และ 6 ตามลำดับ ไม่พบความผิดปกติจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ยกเว้น 1 รายมีระดับ creatinine เพิ่มขึ้นชั่วคราว และอีก 1 รายระดับ blood urea nitrogen เพิ่มขึ้นชั่วคราว ค่าเฉลี่ยของ estradiol เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของ follicle-stimulating hormone (FSH) และ luteinizing hormone (LH) เกือบคงที่สรุป: Pueraria mirifica ค่อนข้างปลอดภัย และการศึกษาเบื้องต้นพบว่าสามารถบรรเทาอาการวัยเพศถอยได้ แต่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสรุปได้อย่างชัดเจนว่าออกฤทธิ์แบบฮอร์โมนเอสโตรเจน
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2550, July ปีที่: 90 ฉบับที่ 7 หน้า 1274-1280
คำสำคัญ
Perimenopausal women, Phytoestrogen, Pueraria mirifica, Climacteric symptoms, Kwao Keur Kao