การรับรู้คุณภาพชีวิตของผู้หญิงพิการวัยกลางคนชาวอีสานในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย: มุมมองจากแนวคิดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก
Milica Markovic, ศิริพร จิรวัฒน์กุล, เพ็ญศรี รักษ์วงค์*
Graduate School, Khon Kaen, University, Khon Kaen 40002, Thailand.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื ่อประเมินคุณภาพชีวิตผู้หญิงพิการวัยกลางคน และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตกับปัจจัยพื้นฐานทางสังคมวัสดุและวิธี การ: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง ดำเนินการศึ กษาในผู้หญิงพิการวัยกลางคน อายุระหว่าง 40-60 ปี จำนวน 32 คน ที่ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บข้อมูลด้วยแบบวัดคุณภาพชีวิตฉบับย่อขององค์การอนามัยโลกฉบับภาษาไทย ดัชนีบาร์เทลเอดีแอลฉบับดัดแปลง ดัชนีจุฬาเอดีแอล และแบบประเมินอาการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติสเปียร์แมนผลการศึกษา: คะแนนการรับรู้คุณภาพชีวิตโดยรวมประเมินจากแบบวัดคุณภาพชีวิตฉบับย่อขององค์การอนามัยโลกฉบับภาษาไทยอยู่ในระดับปานกลาง มิติอาการทางกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้ คุณภาพชีวิตโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน (rs = 0.4848,  p = 0.0048) ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่อเนื่อง (rs = 0.5963, p = 0.0005) และความสมดุลของรายได้ (rs = 0.4124, p = 0.0150) ส่วนสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ ระยะเวลาที่พิการ ระดับความพิการ ปัญหาสุขภาพ และอาการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่มีความสั มพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป: ผลการศึกษาได้ชี้ให้เห็นว่าการมีชีวิตอยู่ได้อย่างอิสระ และความเพียงพอทางการเงินเป็นปัจจัยสำคัญของคุณภาพชีวิตผู้หญิงพิการวัยกลางคน การส่งเสริมการดำรงชีวิตอย่างอิสระและสถานะทางการเงินอาจเป็นสิ่งสำคัญต่อการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของบุคคลเหล่านี้
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2550, August ปีที่: 90 ฉบับที่ 8 หน้า 1640-1646
คำสำคัญ
Quality of life, DISABILITY, Middle-aged women, WHOQOL