การวิเคราะห์ต้นทุนการรักษาข้อเข่าเสื่อมโดยการใช้โซเดียมไฮยาลูโรเนตฉีดเข้าข้อในผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีการรักษาแบบดั้งเดิมไม่ได้ผล
ธนา ธุระเจน*, วิโรจน์ ลาภไพบูลย์พงศ์, สามารถ ม่วงศิร
Department of Orthopaedics, Police General Hospital, 492/1 Rama I Rd, Pathumwan, Bangkok 10400, Thailand. Phone & Fax: 0-2253-5836, E-mail: thanaturajane@yahoo.com
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมสูงอายุที่รักษาด้วยวิธีการรักษาแบบดั้งเดิมไม่ได้ผล มักได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันส่งผลให้อัตราผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมเพิ่มมากขึ้น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อควรเป็นการรักษาลำดับสุดท้ายในผู้ป่วยที่ไม่สามารถบรรเทาอาการปวดโดยวิธีการรักษาอื่น ๆ มีการศึกษาจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าการฉีดโซเดียมไฮยาลูโรเนต (ยัลแกน) เข้าข้อมีประสิทธิผลในการรักษาผู้ ป่วยข้อเข่าเสื่อมในระยะต่าง ๆ ดังนั้นโซเดียมไฮยาลูโรเนต อาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมสูงอายุ จึงควรมีการศึกษาถึงต้นทุนและประสิทธิผลของการรักษาของการใช้ยานี้วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่รักษาด้วยวิธีการรักษาแบบดั้งเดิมไม่ได้ผลในผู้ป่วยสองกลุ่ม กลุ่มแรกเป็นผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยโซเดียมไฮยาลูโรเนตฉีดเข้าข้อทำให้สามารถยืดระยะเวลาในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อหรือไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด กลุ่มที่สอง คือ ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยโซเดียมไฮยาลูโรเนตและจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดวัสดุและวิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์จากข้อมูลย้อนหลังของผู้ ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่รักษาด้วยวิธีการรักษาแบบดั้งเดิมไม่ได้ผลจำนวน 183 ราย ที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจในระหว่างปี พ.ศ 2544-2547 โดยผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการรักษาด้วยโซเดียมไฮยาลูโรเนต (ยัลแกน) ฉีดเข้าข้อสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ และติดตามผลการรักษาเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี ผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษาจะได้รับการพิจารณาให้ได้ รับการฉีดยาเข้าข้อซ้ำ หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาภายใน 1 เดือนหลังการฉีดยาครบ 3 สัปดาห์ โดยพิจารณา จากค่า average Western Ontario และ McMaster Universities Osteoarthritis Index (average WOMAC) score ผู้ป่วยดังกล่าวจะได้รับการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดผลการศึกษา: ผู้ป่วย 146 รายตอบสนองต่อการรักษาด้วยโซเดียมไฮยาลูโรเนตฉีดเข้าข้อโดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดภายในระยะเวลา 2 ปีที่ติดตามผลการรักษา ในจำนวนนี้ผู้ป่วย 83 รายได้รับยาฉีดซ้ำเป็นช่วงเวลาที่ 2 และ 14 รายได้รับยาฉีดรวม 3 ช่วงเวลา ผู้ป่วย 37 รายไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยโซเดียมไฮยาลูโรเนตและต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด โดยต้นทุนการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการใช้ยามีมูลค่ารวม 47,044.18 บาทต่อราย ประกอบด้วยค่ายาโซเดียมไฮยาลูโรเนตฉีดเข้าข้อมูลค่า 12,240.41 บาท และค่ายาอื่นที่ใช้ร่วมในการรักษามูลค่า 34,803.77 บาท ต้นทุนการรักษาในกลุ่มที่ไม่ตอบสนองมีมูลค่ารวม 144,884 บาทต่อราย โดยเป็นค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด 135,559.95 บาทและ ค่ายาโซเดียมไฮยาลูโรเนต 9,324 บาทซึ่งคิดเป็นเพียงร้อยละ 6.44ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด เมื่อพิจารณาต้นทุนการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ตอบสนองพบว่าการใช้โซเดียมไฮยาลูโรเนตสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้ถึงร้อยละ 63.26 เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้ ไม่จำเป็นต้องได้ รับการรักษาโดยการผ่าตัดสรุป: ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่รักษาด้วยวิธี การรักษาแบบดั้งเดิมไม่ได้ผลควรได้รับการรักษาด้วยโซเดียม ไฮยาลูโรเนตฉีดเข้าข้อก่อนได้รับการผ่าตัด แม้ว่าต้นทุนในการรักษาอาจเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาฉีดและยังคงต้องได้รับการผ่าตัด แต่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นเพียงร้อยละ 6.44 ของต้นทุน ในการรักษาทั้งหมด ในทางกลับกันหากผู้ป่วยตอบสนองต่อยาฉีดทำให้สามารถยืดระยะเวลาในผ่าตัดเปลี่ยนข้อหรือไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด จะสามารถลดต้นทุนในการรักษาได้มากถึงร้อยละ 63.26
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2550, September ปีที่: 90 ฉบับที่ 9 หน้า 1839-1844
คำสำคัญ
Knee osteoarthritis, Cost analysis, Sodium hyaluronate, Surgical procedures, Total Knee Arthroplasty (TKA)