ประสิทธิผลเปรียบเทียบระหว่าง Pueraria mirifica (PM) กับ conjugated equine estrogen (CEE) ร่วม หรือ ไม่ร่วมกับ medroxyprogesterone acetate (MPA) ในการรักษาอาการวัยเพศถอยในสตรีก่อนและหลังวัยหมดระดู: การศึกษาระยะที่ 3
มาลินี แสงถวัลย์, วีระพล จันทร์ดียิ่ง*Department of Obstetrics and Gynecology, Feculty of Medicine, Prince of Songkhla Unviersity, Hat Yai, Songkla 90112, Thailand. Phone: 074-429-617, Fax: 074-429-617, E-mail: verapol.c@psu.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินเปรียบเทียบระหว่าง Pueraria mirifica ชื่อไทยว่ากวาวเครือขาวกับ conjugated equine estrogen (CEE) ร่วมหรือไม่ร่วมกับ medroxyprogesterone acetate (MPA) ในการรักษาอาการวัยเพศถอยในสตรีก่อนและหลังวัยหมดระดูวัสดุและวิธีการ: รวบรวมอาสาสมัครจากสตรี วัยก่อนและหลังวัยหมดระดู ที่มาตรวจ ณ คลินิกวัยหมดระดูโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ ประเมินอาการ vasomotor เช่น ร้อนวูบวาบตามเนื้อตามตัว เหงื่อออกกลางคืน รวมถึงอาการอื่นเช่น อาการของระบบอวัยวะสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะ อาการทางด้านจิตใจ ผู้สมัครใจเข้าร่วมการศึกษาได้รับการสุ่มอิสระเพื่อได้รับกวาวเครือขาว ขนาด 50 มิลลิกรัมต่อวัน (กลุ่ม เอ) หรือได้รับ CEE ขนาด 0.625 มิลลิกรัม ต่อวัน ร่วมหรือไม่ร่วมกับ MPA ขนาด 2.5 มิลลิกรัมต่อวัน (กลุ่ม บี) โดยขึ้นกับว่ายังไม่ตัดมดลูกหรือตัดมดลูกแล้วผลการศึกษา: ในจำนวนผู้เข้าร่วมการศึกษา 71 ราย มี 11 ราย ได้รับการคัดออกจากการศึกษาเนื่องจากไม่ผ่านการคัดกรองอย่างครบถ้วนหรือติดตามไม่ครบถ้วน เหลือผู้ป่วยจำนวน 60 รายได้รับการประเมินอย่างครบถ้วน แบ่งเป็น 30 ราย ในกลุ่ม เอ และ 30 ราย ในกลุ่ม บี หลังการรักษา ค่าเฉลี่ยของ modified Greene climacteric scale (MGCS) ในกลุ่มเอ/บี ลดลงจาก 29.0/32.26 เป็น 17.86/18.1, 12.56/9.57 และ 9.9/8.16 ในเดือนที่ 1, 3 และ 6 ตามลำดับ ความพึงพอใจทางคลินิกประเมินจาก MGSC ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่า p-value > 0.05) ทั้งกลุ่ม CEE ร่วมหรือไม่ร่วมกับ MPA กับกลุ่มกวาวเครือขาวในการบรรเทาอาการวัยเพศถอย สำหรับตัวชี้วัดสามตัวชี้วัดในเลือด estradiol, follicle-stimulating hormone (FSH) และ luteinizing hormone (LH) ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างทั้งสองกลุ่มสรุป: กวาวเครือขาวประกอบด้วยฮอร์โมนจากพืช มีการออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนเช่นเดียวกับ CEE และร่วมสามารถลดหรือบรรเทาอาการวั ยเพศถอยในสตรีก่อนและหลังวัยหมดระดู กวาวเครือขาวแสดงถึงสัญญาณที่ดีในการรักษาอาการวัยเพศถอย อย่างไรก็ตาม ขนาดที่เหมาะสมควรได้รับการประเมินควบคู่กันไปกับอาการทางคลินิกตามการตอบสนองของผู้ป่วยแต่ละคนอย่างเหมาะสม
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2550, September
ปีที่: 90 ฉบับที่ 9 หน้า 1720-1726
คำสำคัญ
Conjugated equine estrogen, Medroxyprogesterone acetate, Perimenopausal women, Phytoestrogen, Pueraria mirifica, Vasomotor symptoms