การศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนการรักษาด้วยสารโซเดียมไฮยาลูรอเนตชนิดเชื่อมโยงร่างแห (Cross-Linked Sodium Hyaluronate: XLHA-BDDE) ในคนไข้ข้อเข่าเสื่อมที่รักษาด้วยวิธีการรักษาแบบอนุรักษ์ไม่ได้ผล
ธนา ธุระเจน, ชัยวัฒน์ ศรีรัตนวุฑฒิ, ปาโมกข์ แสงศิรินาวิน*, วันเพ็ญ ลาภไพวงศ์, จิตตวดี ประสงค์
Department of Orthopaedics, Police General Hospital, Bangkok, Thailand; E-mail: pamok_s@docchula.com
บทคัดย่อ
บทนำ: การฉีดสาร ไฮยาลูรอนิก (hyaluronic acid injections) เป็นการรักษาที่ยอมรับโดยทั่วกันว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม (knee osteoarthritis : OA) โดยมีการศึกษาเปรียบเทียบรองรับผลการรักษาจำนวนมาก หนึ่งในการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผลการรักษาโดยการฉีดเข่า1ครั้งด้วยสารโซเดียมไฮยาลูรอเนตชนิดเชื่อมโยงร่างแห(cross-linked sodium hyaluronate : XLHA, single injection form,Hyruan One) ไม่ได้ด้อยกว่าการฉีดสารไฮยาลูรอนิกชนิดโมเลกุลใหญ่ (high molecular weight hyarulonic acid: HMWHA) และแนะน าให้เป็นการรักษาที่ปลอดภัยและให้ผลดีในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม อย่างไรก็ตามยังต้องมีการศึกษาเรื่องของต้นทุน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในด้านการให้ยา และผ่าตัดในการรักษาคนไข้จริง
วัตถุประสงค์: วัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับโรคข้อเข่าเสื่อม ทางด้านการบริหารยาและการผ่าตัด 6 เดือนก่อนและหลังการฉีดXLHA วัตถุประสงค์รองเพื่อศึกษาสัดส่วนของผู้ป่วยที่ไม่ต้องรับการรักษาโดยการผ่าตัดในระยะเวลา 6 เดือนหลังฉีดยา
วัสดุและวิธีก:การศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนนี้เรารวบรวมผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่รักษาด้วยวิธีแบบอนุรักษ์ไม่ได้ผลและจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดทั้งหมด205ราย (253 ข้อเข่า) เป็นผู้ชาย 40 รายและผู้หญิง 165 รายตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2561 ถึงเดือนกันยายนพ.ศ.2561 ที่รักษาในคลินิกออร์โธปิดิกส์โรงพยาบาลตำรวจโดยแบ่งคนไข้เป็น2กลุ่มตามอายุดังนี้กลุ่มที่ 1 อายุน้อยกว่า 60 ปี จำนวน 48 รายและกลุ่มที่สองอายุมากกว่า 60 ปี จำนวน 157 ราย เนื่องจากทั้งสองกลุ่มจะได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีการแตกต่างกัน ความรุนแรงของโรคถูกจัดแบ่งตาม Kellgren Lawrence classification โดยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องนำมาจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาล (hospital information system: HIS) และหน่วยการเงินโรงพยาบาลตำรวจ
ผลการศึกษา: อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยคือ 63.2 (50-81) ปี กลุ่มที่ 1 (อายุน้อยกว่า 60 ปี) จำนวน 48 ราย กลุ่มที่ 2 (อายุมากกว่า 60 ปี) จำนวน 157 ราย โดยกลุ่มแรกมีผู้ป่วยจำนวน 7 ราย ที่ต้องได้รับการผ่าตัดส่องกล้อง (knee arthroscopic surgery) คิดสัดส่วนผู้ป่วยที่ชะลอการรักษาโดยการผ่าตัดคือร้อยละ 85.42 (41 ราย จากทั้งสิ้น 48 ราย) โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 69,750.00 บาทต่อข้อเข่า ส่วนกลุ่มที่สองมีผู้ป่วยจำนวน 15 ราย ที่ต้องรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (total knee arthroplasty) คิดสัดส่วนผู้ป่วยที่ชะลอการรักษาโดยการผ่าตัดคือร้อยละ 90.45 (142 ราย จากทั้งสิ้น 157 ราย)โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่136,910.71 บาทต่อข้อเข่า ค่าใช้จ่ายต่อการฉีด XLHA คือ 3,588,805.00บาท โดยค่าใช้จ่ายในการบริหารยา (Selective COX-2 inhibitor NSAIDs และ Diacerein) 6 เดือนก่อนและหลังการฉีดXLHA คือ 481,783.00 บาท และ 701,714.00 บาทตามลำดับ
สรุป: จากการศึกษาพบว่า XLHA ลดอัตราการผ่าตัดในช่วง 6 เดือนในทุกระยะความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม โดยสาเหตุของผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปีที่ต้องได้รับการผ่าตัดคือ การฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่า ส่วนผู้ป่วยอายุมากกว่า 60 ปีคือการบาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกอ่อน ค่าใช้จ่ายทางด้านการบริหารยา (Selective COX-2 inhibitor NSAIDs และ Diacerein) 6 เดือนหลังการฉีด XLHAเพิ่มมากขึ้นอย่างไรก็ตามเนื่องจากมีผู้ป่วยจานวนมากที่สามารถชะลอการผ่าตัดได้ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดในผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
 
ที่มา
วารสารราชวิทยาลัยแพทย์ออโธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ปี 2563, January-April ปีที่: 44 ฉบับที่ 1-2 หน้า 11-16
คำสำคัญ
failure, Total knee arthroplasty, Cost analysis, Conservative treatment, Cross linked Sodium Hyaluronate, osteoarthritis of knee, Viscosupplementation