การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการเสริมพลังผู้ป่วยไตวายเรือรังระยะที่ 5 ที่รักษาแบบประคับประคอง อําเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง
ุรุ่งรัตน์ ยอดระยับ, สุฑารัตน์ ชูรส*
โรงพยาบาลแสวงหา จังหวัดอ่างทอง
บทคัดย่อ
การวิจัยครังนี้เป็นการวิจัยแบบทดลองเบืองต้น  (Pre  Experimental  Research)  มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรือรังระยะที  ทีรักษาแบบประคับประคองก่อน-หลังการเสริมพลัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยไตวายเรือรังระยะที่ 5 ที่รักษาแบบประคับประคอง (eGFR<  15 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อ 1.73 ตารางเมตร)  ที่ปฏิเสธการบําบัดทดแทนไต อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง จำนวน 31 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เครืองมือทีใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1.สื่อเอกสาร /แผ่นพับความรู้เรืองโรคไต / วีดิทัศน์ / คู่มืออยู่เป็นสุขกับโรคไต / บุคคลต้นแบบ / โมเดลอาหารและยา /โปรแกรมเสริมพลังอำนาจในการจัดการตนเอง 2. เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1   แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย(WHOQOL–BREF–THAI)เป็นแบบสอบถามระดับความคิดเห็นซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ  การตรวจสอบความเชื่อมัน (Reliability) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา  ได้แก่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอนุมาน ได้แก่  Dependent  t-test ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้
ผลลัพธ์คุณภาพชีวิตกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครังนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 70 - 79 ปีมากที่สุด  โดยอายุเฉลี่ย 79 ปี ระดับการศึกษาส่วนมากระดับประถมศึกษาอาชีพเกษตรกรรมรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 1,000 - 3,000 บาท ซึ่งเป็นรายได้เงินผู้สูงอายุเงินสวัสดิการของรัฐมีโรคประจําตัวโรคร่วมคือโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงทุกคน มีผู้ดูแลเป็นคู่ชีวิตหรือบุตรหลาน ผลการเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนระดับคุณภาพชีวิตก่อนการเสริมพลัง 74.7 หลังการเสริมพลัง 82.0 คะแนนคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น 7.23  และเมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติ พบว่าระดับคุณภาพชีวิตภายหลังการเสริมพลังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 สรุปผลความแตกต่างรายด้าน พบว่าระดับคะแนนคุณภาพชีวิตแยกรายด้านของกลุ่มเป้าหมายมีความแตกต่างกัน กล่าวคือหลังการเสริมพลังระดับคะแนนคุณภาพชีวิตรายด้านเพิ่มขึ้นในทุกด้านอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05
จากผลการศึกษาดังกล่าวสรุปได้ว่า แนวคิดการเสริมพลังอำนาจมีส่วนช่วยส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยได้ดังนั้น ควรนําแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจมาประยุกต์ใช้ร่วมกับการรักษาตามปกติของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 5 เพื่อเป็นประโยชน์ในการเป็นแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและพัฒนาการดูแลผู้ป่วย ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สัมพันธภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม
 
ที่มา
แพทยสารทหารอากาศ ปี 2563, May-August ปีที่: 66 ฉบับที่ 2 หน้า 1-13
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, empowerment, คุณภาพชี่วิต, chronic kidney disease, โรคไตเรื้อรัง, การเสริมพลัง