เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตและความพึงพอใจต่อการรักษาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้าร่วมโครงการหวานชื่นใจ เพื่อส่งเสริมและให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานและสร้างทักษะเพื่อการดูแลตนเอง ของโรงพยาบาลศูนย์สระบุรี โดยเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ
วิชญ์พล พิทักษ์สินพานิชย์
โรงพยาบาลศูนย์สระบุรี
บทคัดย่อ
                การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและความพึงพอใจต่อการรักษาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้าร่วมโครงการหวานชื่นใจเพื่อส่งเสริมและให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานและสร้างทักษะเพื่อการดูแลตนเอง (Diabetes self-management education and support) ของโรงพยาบาลศูนย์สระบุรีเปรียบเทียบกับ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ตรวจรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์สระบุรีและไม่ได้เข้าร่วมโครงการ ดังกล่าว
โดยมีรูปแบบการวิจัยเป็น การศึกษา เชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 206 คน โดยนํามาจากผู้ที่มาต่อที่ แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลสระบุรี และได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกไปสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่เข้าร่วมโครงการหวานชื่นใจเพื่อส่งเสริมและให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน และสร้างทักษะเพื่อการดูแลตนเองอย่างน้อย 3 เดือนและกลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวาน Audit of Diabetes Dependent Quality of Life 19 (ADDQoL19) และแบบสอบถาม เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการรักษาโรคเบาหวานของผู้ป่วย Diabetes Treatment Satisfaction Questionnaire (DTSQ)
ผลการศึกพบว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ตรวจรักษาเบาหวานที่โรงพยาบาลศูนย์ สระบุรี ที่เข้าร่วมหวานชื่นใจเพื่อส่งเสริมและให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานและ สร้างทักษะเพื่อการดูแลตนเอง (Diabetes Self-Management Education and Support DSME/S) มีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้าโครงการอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.001) ค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมย้อนหลังดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้า โครงการอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.001) นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ มีค่าเฉลี่ยและค่ากลางของคุณภาพชีวิตโดยรวมดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.001) และพบว่าความพึงพอใจจากการรักษาโดยรวมมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ เข้าร่วมกิจกรรม (p <0 .001)
 
ที่มา
วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ปี 2563, May-August ปีที่: 10 ฉบับที่ 2 หน้า 307-321
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, เบาหวานชนิดที่ 2, คุณภาพชี่วิต, Type 2 diatetes, Diabetes self-management education and support, ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานและสร้างทักษะเพื่อการดูแลตนเอง