ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวดข้อ การเผชิญความปวดเชิงรับ คุณภาพการนอนหลับและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเกาต์
ปวีณา อ่วมตานี*, ชนกพร จิตปัญญา
สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330 Email: paweenapp.pp@gmail.com
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวดข้อ การเผชิญความปวดเชิงรับ คุณภาพการนอนหลับกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเกาต์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรค เกาต์ที่เข้ารับการรักษาในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และ โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 143 ราย เก็บข้อมูลในช่วงเดือนกันยายน ตุลาคม พ.ศ. 2562 เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการ สุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามอาการปวดข้อ 3) แบบสอบถามการเผชิญความเจ็บปวด 4) แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ และ 5) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตด้าน สุขภาพ ที่ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒจำนวน 8 ท่าน และหาค่าความเที่ยงด้วยวิธีคำนวณค่า สัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.78, 0.91, 0.80 และ 0.88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยโรคเกาต์อยู่ในระดับต่ำ ( =338.68, SD= 116.20) อาการปวดข้อ การเผชิญความปวดเชิงรับ และคุณภาพการนอนหลับ มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลาง กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเกาต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = -0.490, -0,456 และ -0.430 ตามลำดับ)
 
ที่มา
วารสาร มฉก. วิชาการ ปี 2563, January-June ปีที่: 24 ฉบับที่ 1 หน้า 63-74
คำสำคัญ
Quality of life, pain, คุณภาพชีวิต, sleep quality, คุณภาพการนอนหลับ, คุณภาพชี่วิต, Gout, passive pain coping, โรคเกาต์, อาการปวดข้อ, การเผชิญความปวดเชิงรับ