ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา
สลิลทิพย์ กมลศิริ*, วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี, สุนีย์ ละกำปั่น, ประศักดิ์ สันติภาพ, ณิชชาภัทร ขันสาครนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; Email: salin_k@hotmail.com
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา ตัวอย่างในการศึกษาคือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่มารับบริการในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ.2559 จำนวน 270 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยศึกษาระหว่างเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 – พฤษภาคม พ.ศ.2560 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยเชิงเส้น โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรที่สามารถร่วมทำนายคุณภาพชีวิตคือ พฤติกรรมการใช้ยา (B = -0.349, p<0.01) พฤติกรรมการออกกำลังกาย (B = -0.161, p<0.01) การได้รับคำแนะนำด้านการใช้ยา (B = -0.117, p<0.05) การได้รับคำแนะนำในการออกกำลังกาย (B=-0.275, p<0.01) และความยากลำบากในการรับบริการ (B= -0.112, p<0.05) ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 47.7 จากผลการวิจัยนี้ มีข้อเสนอแนะ คือ ควรให้มีการแนะนำการออกกำลังกาย การใช้ยาเพื่อให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการใช้ยาและการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม อีกทั้งควรจัดบริการให้ผู้ป่วยมีความสะดวกในการรับบริการ ตามปัจจัยที่ร่วมทำนายคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้จากการศึกษานี้ ซึ่งจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยต่อไป
ที่มา
วารสาร มฉก. วิชาการ ปี 2561, July-December
ปีที่: 22 ฉบับที่ 43-44 หน้า 27-42
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Chronic obstructive pulmonary disease, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, Community hospital, โรงพยาบาลชุมชน, คุณภาพชี่วิต