ประสิทธิผลของการฝังเข็ม ร่วมกับการรักษาแบบอนุรักษ์ ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
ศักดิ์ชัย เกียรติอำนวย*, เรณู ภาวะดี, วัชราวรรณ เพชรมหาศาล
กลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์โรงพยาบาลสิรินธรจังหวัดขอนแก่น
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติ และเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพ ในผู้สูงอายุที่ส่งผลทำให้เกิดความพิการในที่สุด ในส่วนของการรักษาแบบอนุรักษ์ เป็นที่ยอมรับถึงประสิทธิผลของการฝังเข็มในโรคข้อเข่าเสื่อมในระดับหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่มักทำการศึกษาในต่างประเทศ ในขณะที่ประเทศไทยมีการศึกษาน้อยมาก และ มักการศึกษาเฉพาะในกลุ่มเดียว
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการฝังเข็มร่วมกับการรักษาแบบอนุรักษ์ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมเปรียบเทียบ กับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบอนุรักษ์เพียงอย่างเดียว 
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบ Randomized controlled trial กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นผู้ป่วยที่เข้ามารักษา ในแผนกผู้ป่วยนอกกลุ่มงานศัลกรรมออร์โธปิดิกส์ และกลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โดยใช้ Modified total WOMAC scale จำนวน 80 ราย วิเคราะห์ทางสถิติใช้  Paired T-Test ในการเปรียบเทียบกลุ่มเดียวกัน และใช้ Mann-Whitney Test เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม 
ผลการศึกษา : จากการเปรียบเทียบในกลุ่มตัวอย่างข้อมูลพื้นฐานระหว่างกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน และพบทั้งสองกลุ่มมีอาการปวดลดลง ข้อฝืดตึงลดลงและการใช้งานในภาพรวมดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ถ้าหากเปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มหรือถ้าเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบอนุรักษ์เพียงอย่างเดียว จะพบว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบอนุรักษ์ควบคู่กับการฝังเข็ม ลดอาการปวดได้และอาการดีขึ้น ข้อฝืดตึงลดลงส่งผลให้ใช้งานได้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 
สรุป : จะเห็นได้ว่าการฝังเข็มร่วมกับการรักษาแบบอนุรักษ์ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมีประสิทธิผลในแง่ของการลดปวด ลดข้อฝืดตึง และเพิ่มการใช้งานได้ดีกว่า ถ้าเทียบกับการรักษาแบบอนุรักษ์เพียงอย่างเดียว
 
ที่มา
วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ปี 2562, May-August ปีที่: 16 ฉบับที่ 2 หน้า 133-140
คำสำคัญ
Conservative treatment, โรคข้อเข่าเสื่อม, Acupuncture, การฝังเข็ม, Osteoarthritis of the knee, การรักษาแบบอนุรักษ์