คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี
ชวนนท์ อิ่มอาบ
สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสาธารณสุขศาสตร์ โรงพยาบาลวัดเพลง จังหวัดราชบุรี
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จำแนกตามอายุ เพศ การศึกษา สถานภาพสมรส รายได้ ภาระหนี้สิน และการมีโรคประจำตัว และ 3) ศึกษาว่าการทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัวและการสนับสนุนทางสังคม เป็นปัจจัยที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี
วิธีการศึกษา : การวิจัยเชิงวิเคราะห์ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่อาศัยอยู่ในอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี จำนวน 339 คน ทำการสุ่มโดยการแบ่งชั้น (stratified random sampling) ตามสัดส่วนประชากรจำแนกตามตำบลและอายุ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test การทดสอบ one-way analysis of variance และ stepwise multiple regression analysis
ผลการศึกษา : คุณภาพชีวิตภาพรวมของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 97.6 (x̄ =79.30)  เมื่อจำแนกตามอายุ  สถานภาพสมรส และรายได้  ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัวสามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ได้ร้อยละ 28.2 และสมการที่ได้จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
สรุป : การทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัวสามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรีได้ ดังนั้นควรส่งเสริมการทำกิจกรรมให้ผู้สูงอายุได้มีการทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว และแนะนำให้ความรู้ในการประกอบอาชีพเสริมที่ผู้สูงอายุสามารถทำได้ไม่ยากเกินไป
 
ที่มา
วารสารแพทย์เขต 4-5 ปี 2563, January-March ปีที่: 39 ฉบับที่ 1 หน้า 65-77
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Social support, การสนับสนุนทางสังคม, elderly, ผู้สูงอายุ, คุณภาพชี่วิต, doing joint activities of family members, การทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว