การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของหน่วยงานทางการศึกษาด้านสุขภาพ
ภาณีวร ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา, อรลักษณ์ พัฒนาประทีป*, อัมรินทร์ ืทักขิญเสถียรภาควิชาระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 270 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย โทรศัพท์ +66 2201 0832 อีเมล: oraluck.pat@mahidol.edu
บทคัดย่อ
บทนำ : การประมาณราคาต้นทุนต่อหน่วยเป็นหนึ่งปัจจัยหลักในการวางแผนเพื่อดำเนินการจัดสรรทรัพยากรให้กับกิจกรรมแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการคิดต้นทุนฐานกิจกรรมโดยการประมาณราคานั้นสามารถนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาการในส่วนงานได้เป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาต้นทุนต่อหน่วยให้ตรงตามวัตถุประสงค์ทางวิชาการของภาควิชาระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
วิธีดำเนินการวิจัย : การศึกษาการจัดสรรต้นทุนจากบนลงล่างของภาควิชาระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ที่ได้รับจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายทางตรงและทางอ้อม ซึ่งถูกจัดสรรให้กับ 3 พันธกิจหลัก (การศึกษา การวิจัย และการบริการ) จำแนกตามกิจกรรมและเวลาที่ใช้ของพนักงานแต่ละคนในแต่ละพันธกิจ โดยค่าใช้จ่ายต่อหน่วยของการวัดจะถูกประเมินตาม 3 พันธกิจ (ค่าใช้จ่ายต่อนักศึกษา ค่าใช้จ่ายต่อผลงานการตีพิมพ์ และค่าใช้จ่ายต่อการให้คำปรึกษา)
ผลการวิจัย : ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ต้นทุนทางตรงและทางอ้อมเท่ากับ 15,178,761 บาท และ 737,496 บาท ตามลำดับ สำหรับเวลาที่พนักงานใช้ในแต่ละพันธกิจของภาควิชาระบาดคลินิกและชีวสถิติ แบ่งเป็น ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา เท่ากับ 6,807,282 บาท (ปริญญาโท 3,914,187 บาท และ ปริญญาเอก 2,893,095 บาท) ด้านการวิจัย เท่ากับ 5,912,895 บาท และด้านการบริการ เท่ากับ 2,186,280 บาท
สรุป : การประเมินต้นทุนต่อหน่วยสามารถลดต้นทุนและจัดสรรทรัพยากรให้แต่ละกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางสำหรับภาควิชาอื่น ๆ ในการวางแผนและบริหารจัดการต้นทุนของหน่วยงานต่อไป
ที่มา
รามาธิบดีเวชสาร ปี 2563, January-March
ปีที่: 43 ฉบับที่ 1 หน้า 47-53
คำสำคัญ
Unit cost, ต้นทุนต่อหน่วย, การจัดสรรต้นทุน, Academic, Top-down, Cost allocation, วิชาการ, ต้นทุนจากบนลงล่าง