คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองที่อาศัยในเมืองและในชนบทของประเทศไทย
ณัฐเศรษฐ มนิมนากร*, รัตนา วิเชียรศิริ, วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล, วุฒิชัย เพิ่มศิริวานิชย์, โฉมพิไล นันทรักษา
Rehabilitation Medicine Department, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002, Thailand. Phone: 043-348-392, E-mail: natman@kku.ac.th
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: ผู้ป่วยอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมองที่รอดชีวิตที่อาศัยในเขตเมืองและชนบทน่าจะมีการปรับตัวต่อความพิการแตกต่างกัน ปัจจัยเหล่านี้ ซึ่งน่าจะนำมาศึกษาในคนไทยวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง สภาพจิตใจ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ซึ่งอาศัยในเขตเมือง และเขตชนบท ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูรูปแบบ: การศึกษาไปข้างหน้าเชิงวิเคราะห์ แบบ multi-centerวัสดุและวิธีการ: ศึกษาจากผู ้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู หลังจากได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูโดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่อาศัยในเขตเมือง และ ในชนบท เครื่องมือที่ใช้วัดผลการฟื้นฟู ได้แก่ Barthel Index, Hospital Anxiety and Depression Scale (HADS) และ WHO BREF QOL โดยวัดก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพ เก็บข้อมูลจากสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ 9 แห่งผลการศึกษา: ผลของโปรแกรมการฟื้นฟู สมรรถภาพ ช่วยให้ ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง สภาพจิตใจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น ทั้ง 2 กลุ่ม กลุ่มที่อาศัยในเขตเมือง และ ในชนบท อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างของความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง สภาพจิตใจ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งก่อนและหลังการรักษาสรุป: การอาศัยในเขตเมืองและในชนบทของผู้ป่วยอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมองพบว่าไม่มีผลต่อความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง สภาพจิตใจ และคุณภาพชีวิตภายหลังได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2551, March ปีที่: 91 ฉบับที่ 3 หน้า 394-399
คำสำคัญ
Quality of life, Thailand, Functional outcome, Psychological condition, Rehabilitation program, Rural, Stroke, Urban