การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
อุมา จันทร์วิเศษ*, สุธิสา เต็มทับ, สุขุมา กลั่นแก้ว, ฉวีวรรณ ยี่สกุล
ฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาต้นทุนกิจกรรมยาบาและระยะเวลาที่ใช้ในการทำต่อหน่วย  กิจกรรมการพยาบาลในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย1โรงพยาบาลสงขลานครินทร์โดยใช้แนวคิด ระบบต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลประชากรที่ศึกษาคือ เจ้าหน้าที่ทีมการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 จำนวน 62 คน และผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 เลือกตัวอย่างผู้ป่วยแบบเจาะจง จำนวน 28 คน เก็บข้อมูลตั้งแต่กุมภาพันธ์ถึงกรกฎาคม 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 5 ชุดคือชุดที่ 1 แบบบันทึกข้อมูล ทั่วไปของผู้ป่วยชุดที่2พจนานุกรมกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจชุดที่ 3 แบบสังเกตเวลาในการปฏิบัติ กิจกรรมชุดที่4แบบบันทึกสรุปเวลาที่ใช้และปริมาณกิจกรรมชุดที่ 5 แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากรเครื่องมือ ได้รับการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ3ท่านค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือทุกชุดเท่ากับ 0.98 ความเที่ยงของการสังเกตเครื่องมือชุดที่ 4 เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาด้วยการแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่าต้นทุนรวมในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วย28รายตั้งแต่แรกรับจนจำหน่ายเป็นเงิน 351,256.42 บาท เฉลี่ย 12,544.87 บาท/ราย ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลหลักแบ่งเป็น 4 กิจกรรมโดยกิจกรรมการดูแลผู้ป่วย ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจมีต้นทุนกิจกรรมสูงสุดเฉลี่ย 11,769.68 บาท/ราย รองลงมาคือ กิจกรรมการวางแผนจำหน่ายเฉลี่ย 602.57 บาท/ราย กิจกรรมการเตรียมความพร้อมเฉลี่ย 97.30 บาท/ราย และกิจกรรมการดูแลแรกรับเฉลี่ย75.32 บาท/ราย โดยกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจใช้เวลามากที่สุดเฉลี่ย 2,196.95 นาทีต่อรายข้อเสนอแนะผู้บริหารพยาบาล ควรนำ ผลการวิจัยไปวางแผนบริหารต้นทุนทรัพยากรของหน่วยงานเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพการดูแล
 
ที่มา
วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ปี 2562, May-August ปีที่: 11 ฉบับที่ 2 หน้า 93-106
คำสำคัญ
ระยะเวลา, Cost of nursing service, Time services, Patients with respirator, ต้นทุนกิจกรรมพยาบาล, ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ