ผลของการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปต่อฮีโมโกลบิน เอวันซี และสุขสมรรถนะในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
อัญชลี แก้วไชย
โรงพยาบาลกุดรัง อำเภอกดุรงั จังหวัดมหาสารคาม
บทคัดย่อ
บทนำ : โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus) เป็นโรคเรื้อรังที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายแนวทางที่จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนลดอัตราการตายและลดอัตราเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลได้คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือมีระดับฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) ให้อยู่ในระดับปกติโดยการรักษาด้วยยาร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการออกกำลังกาย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปต่อฮีโมโกลบิน เอวันซี  และสุขสมรรถนะ     ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
วิธีดำเนินการวิจัย:  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 60 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ใช้เทคนิคการวิจัยแบบ Randomized control trial โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายด้วย         ฮูลาฮูป ครั้งละ 45 นาที  3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมปฏิบัติกิจวัตรตามปกติ     เก็บข้อมูลฮีโมโกลบิน เอวันซี  และสุขสมรรถนะก่อนการทดลอง ภายหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ และภายหลังการทดลอง 12 สัปดาห์
ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองมีระดับฮีโมโกลบิน เอวันซี  ภายหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ ลดลงแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กลุ่มทดลองมีสุขสมรรถนะด้านการใช้ออกซิเจนสูงสุด (Vo2peak) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และความอ่อนตัว ภายหลังการทดลองสัปดาห์ 6 และภายหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 12 เพิ่มขึ้นแตกต่างจากกลุ่มควบคุมมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ไม่พบ                        การเปลี่ยนแปลงค่าดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอวและไขมันใต้ผิวหนัง
สรุป: การออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับฮีโมโกลบิน เอวันซี  ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และความอ่อนตัว
 
ที่มา
วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ปี 2560, January-April ปีที่: 14 ฉบับที่ 1 หน้า 99-106
คำสำคัญ
สุขสมรรถนะ, Health-related physical fitness, ฮูลาฮูป, Hemoglobin A1c, Hulahoop, ฮีโมโกลบิน, เอวันซี