Influencing Factors of Health-Related Quality of Life in Thai Children with Cancer
Pranee Khamchan, บุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์*, วงจันทร์ เพชรพิเชษฐ์เชียร, ๊ธีรชิต โชติสัมพันธ์เจริญ
Faculty of Nursing, Prince of Songkla University, Songkhla, Thailand
บทคัดย่อ
การระบุปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสำหรับพยาบาล เพื่อใช้ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กโรคมะเร็งในประเทศไทย การศึกษาเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบอิทธิพลของการทำหน้าที่ของครอบครัว  การปรับตัว  ความรู้สึกทุกข์ทรมานรบกวนการดำเนินชีวิตจากอาการ  ความวิตกกังวลแฝง  ความวิตกกังวลขณะกําาลังเผชิญ ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรม และพฤติกรรมการดูแลตนเอง ต่อคุณภาพชีวิตเด็กโรคมะเร็ง กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กป่วยโรคมะเร็ง จำนวน 199 ราย และผู้ดูแลจำนวน 199 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติจากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 8 แห่ง ใน 3 ภูมิภาคของประเทศไทย เด็กป่วยต้องมีอายุ 9 -18 ปี เคยได้รับยาเคมีบำบัดอย่างน้อย 1 ครั้ง รู้สึกตัวดีและไม่มีปัญหาสุขภาพที่รุนแรง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม จำนวน 8 ชุดได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินการทำหน้าที่ของครอบครัว 3) แบบประเมินการเล่นของเด็ก 4) แบบสอบถามคุณภาพชีวิต  5)  แบบประเมินวิธีการเผชิญกับความเจ็บป่วย  6)  แบบประเมินความวิตกกังวล  7)  แบบสอบถามพฤติกรรมในการดูแลตนเอง และ 8) แบบประเมินอาการของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง ผู้ดูแลตอบแบบสอบถาม 3 ชุดแรก และเด็กป่วยโรคมะเร็งตอบแบบสอบถามหมายเลข 4 - 8 ทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามหมายเลข 2, 4-5 และ 7-8 โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้เท่ากับ .89, .93, .88, .82 และ .91 ตามลำดับ ส่วนแบบสอบถามหมายเลข 6 ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของความวิตกกังวลขณะกําาลังเผชิญ เท่ากับ .89 และความวิตกกังวลแฝง เท่ากับ .88 สำหรับค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของแบบสอบถามหมายเลข  3  เท่ากับ  .93  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษา พบว่า ความวิตกกังวลแฝง (β=-.391, p< .001) และความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรม (β= .347,p< .001) สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเด็กไทยโรคมะเร็งได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ33.3 (R2= .333, p< .001) ผลการวิจัยนี้ ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับพยาบาลในการส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมในเด็ก เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับเด็กไทยโรคมะเร็งตามศักยภาพ
 
ที่มา
วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ ปี 2562, July-September ปีที่: 37 ฉบับที่ 3 หน้า 1-16
คำสำคัญ
Cancer, Health-related quality of life, คุณภาพชีวิต, Thai children, คุณภาพชี่วิต, มะเร็ง, influencing factor, เด็กไทย, ปัจจัยที่มีอิทธิพล