ผลของการใช้แสงฮาโลเจนในการกระตุ้นทารกเพื่อการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์
ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร, ตวงสิทธิ์ วัฒกนารา*, พรเพ็ญ ตันติศิรินทร์, สมหมาย วิบูลย์ชาติ, อิสรินทร์ ธนบุณยวัฒน์
Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Sirijaj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand. Phone: 0-2419-4651, Fax: 0-2418-2662, E-mail: sitwg@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงการลดระยะเวลาในการตรวจความแข็งแรงของทารกโดยการกระตุ้นทารกในครรภ์ด้วยแสงฮาโลเจนรูปแบบงานวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองวัสดุและวิธีการ: ใช้ตารางสุ่มสตรีตั้งครรภ์จำนวน 176 รายที่มารับการตรวจเพื่อประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ที่หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกของโรงพยาบาลศิริราช ในช่วงอายุครรภ์ระหว่าง 32 ถึง 42 สัปดาห์ ให้ได้รับการตรวจประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์แบบมาตรฐาน (กลุ่มควบคุม) และแบบที่ทารกได้รับการ กระตุ้นด้วยแสงฮาโลเจนผ่านทางหน้าท้องมารดา ทารกที่อายุครรภ์ไม่เข้าเกณฑ์ หรือเสียชีวิตในครรภ์ ครรภ์แฝด หรือมารดาที่มีการหดรัดตัวของมดลูกอย่างสม่ำเสมอหรือมีน้ำเดินแล้วจะถูกคัดออกจากการทดลอง การกระตุ้นจะทำเมื่อเริ่มการตรวจประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ และซ้ำทุก 10 นาทีจนกระทั่งพบว่า อัตราการเต้นของหัวใจทารกเพิ่มขึ้นอย่างน้อยสองครั้ง (reactive) โดยจำนวนครั้งของการกระตุ้นรวมกันไม่เกิน 3 ครั้ง การแปลผลการตรวจจะทำโดยผู้วิจัยเพียงคนเดียวโดยไม่ทราบว่าได้รับการกระตุ้นด้วยแสงหรือไม่ผลการศึกษา: ระยะเวลาเฉลี่ย (± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ตั้งแต่เริ่มทดสอบจนถึงเวลาที่ ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นครั้งแรกนั้นไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มกระตุ้นด้วยแสงฮาโลเจน (5.6 ± 7.2 และ 5.4 ± 5.2 นาทีตามลำดับ) ระยะเวลาเฉลี่ย (± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ตั้งแต่เริ่มทดสอบจนถึงที่ได้ผล reactive ในกลุ่มควบคุมและกลุ่มกระตุ้นด้วยแสงคื อ 10.5 (± 8.8) และ 9.6 (± 6.7) นาที ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อัตราการตรวจพบผล nonreactive ในกลุ่มควบคุมและกลุ่มกระตุ้นด้วยแสงคือ 11.4% และ 15.9% ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพิจารณาเฉพาะในกลุ่มกระตุ้นด้วยแสงพบว่า ทารกที่มีอายุครรภ์มากกว่า 37 สัปดาห์ และมารดาที่ มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 27 กิโลกรัมต่อตารางเมตรจะใช้เวลาในการทดสอบเพื่อให้ได้ ผล reactive สั้ นกว่าทารกในอายุครรภ์ก่อนกำหนดและในมารดาที่มีดัชนีมวลกายสูง เท่ากับ 2.4 และ 2.3 นาทีตามลำดับสรุป: การกระตุ้นทารกในครรภ์ด้วยแสงฮาโลเจนไม่สามารถร่นเวลาการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ ในกลุ่มประชากรที่ศึกษา อย่างไรก็ตามข้อมูลของการศึกษานี้ บ่งชี้ว่าทารกที่อายุครรภ์ครบกำหนดสามารถตอบสนองต่อแสงได้ดีกว่าทารกอายุครรภ์ก่อน 37 สัปดาห์
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, September ปีที่: 89 ฉบับที่ 9 หน้า 1376-1380
คำสำคัญ
Nonstress test, Fetal heart rate reactivity, Fetal physiology, Fetal well-being, Halogen light stimulation test