ยา Levobupivacaine ความเข้มข้นต่ำสำหรับการใส่สายระงับความรู้สึกที่เส้นประสาท Femoral ในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าร่วมกับมอร์ฟีน 0.1 มิลลิกรัม ทางไขสันหลัง
มาร์วิน เทพโสพรรณ*, กรกมล ยุวพัฒนวงศ์, ดนิตา วีระเจริญกุล
หน่วยวิจัยการระงับปวด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ
หลักการ : ความปวดหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเป็นความ ปวดระดับปานกลางถึงรุนแรง การระงับปวดที่ดีทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว การศึกษานี้ต้องเปรียบเทียบผลของ levobupivacaine ความเข้มข้น 0.04% ร่วมกับมอร์ฟีนเข้าทางไขสันหลังปริมาณ 0.1 มิลลิกรัมเทียบกับความเข้มข้น 0.1% ในการระงับปวดผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
วิธีการศึกษา : เป็นงานวิจัยเชิงทดลองแบบปกปิดสองทางในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ผู้ป่วยกลุ่ม LBM ได้รับ levobupivacaine 0.04% ร่วมกับมอร์ฟีน 0.1 มิลลิกรัม ทางไขสันหลังส่วนกลุ่ม BM ได้รับ levobupivacaine  0.1% หยดต่อเนื่องทาง femoral block เป็นเวลา 48 ชั่วโมง หลังการผ่าตัด ที่เวลา 6, 12, 24, 48 ชั่วโมง ปริมาณมอร์ฟีนที่ใช้จากเครื่องให้ยาแก้ปวดด้วยตนเอง (PCA) และผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้อาเจียน คัน กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยทั้งหมด 46 ราย กลุ่ม LBM มีคะแนนความปวดที่ 6 ชั่วโมง หลังผ่าตัดทั้งขณะพักและขณะเพื่อนไหว น้อยกว่ากลุ่ม BM อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3.88vs 1.61, p = 0.005) และ (5.88 vs 3.39, p = 0.02) ตามลำดับ ส่วนที่ 12 ชั่วโมง กลุ่ม LBM มีคะแนนความปวดขณะเคลื่อนไหวต่ำกว่ากลุ่ม BM อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (5.33 vs 4.42, p = 0.034) ที่ 24 ชั่วโมงกลุ่ม LBM มีกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงน้อยกว่ากลุ่ม LB (Bromage score l, 29.4% vs 69.4% , p = 0.028) ไม่พบความแตกต่างของปริมาณการใช้มอร์ฟีน คลื่นไส้อาเจียน คัน ระหว่างผู้ป่วยสองกลุ่ม
สรุป : การให้ levobupivacaine  0.04% ระงับกระแสประสาทของเส้นประสาท femoral อย่างต่อเนื่องร่วมกับมาฟิน 0.1 มิลลิกรัมทางไขสันหลัง สามารถระงับปวดหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2563, January-March ปีที่: 46 ฉบับที่ 1 หน้า 1-20
คำสำคัญ
Femoral nerve block, Total knee replacement, Levobupivacaine, postoperative pain, การระงับปวดหลังผ่าตัด, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า