คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังเมื่อกลับไปพักฟื้นที่บ้าน
มนัสวี ให้ศิริกุล
งานกายภาพบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย 31000
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล   : การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังมีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยผู้ป่วยรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายในระบบผู้ป่วยในมีระยะการฟื้นฟูเฉลี่ย 3-5 วัน โดยได้รับการแนะนำทางกายภาพบำบัดเบื้องต้น แต่ยังขาดการติดตามประเมินผู้ป่วยเมื่อพักฟื้นที่บ้าน
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันเมื่อกลับพักฟื้นที่บ้านและ เพื่อศึกษา คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังเมื่อกลับพักฟื้นที่บ้าน
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่พักรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2561ท ติดตามผู้ป่วยภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล และกลับไป ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายต่อเนื่องที่บ้าน
ผลการศึกษา:  กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 รายอายุระหว่าง 21 ถึง 68 ปีค่ามัธยฐาน 38.5 ปี (21,68) พบว่า ผู้ป่วยมีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันก่อนกลับบ้านเมื่อกลับพักฟื้นที่บ้านค่ามัธยฐาน 11 คะแนนและ 25.5 คะแนนตามลำดับ และผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตปานกลาง8 ราย คุณภาพชีวิตไม่ดี 2 ราย มีภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยต้องการความรู้ในการฟื้นฟูที่มีความเจาะจงและการฝึกอาชีพ
สรุป: ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันต่ำ ต้องพึ่งพาผู้อื่น บ่งถึงผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูเพื่อเพิ่มความสามารถไม่เพียงพอ ควรเตรียมความพร้อมผู้ป่วยตั้งแต่อยู่โรงพยาบาล เพิ่มการฟื้นฟูผู้ป่วยในเชิงรุกเพื่อฝนฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการแนะนำการฝึกอาชีพแก่ผู้ป่วย
 
ที่มา
วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ปี 2562, September-December ปีที่: 34 ฉบับที่ 3 หน้า 385-397
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Activities of daily living, คุณภาพชี่วิต, traumatic spinal cord injured patients, ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง, ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน