คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เลิกสูบบุหรี่ในคลินิกอดบุหรี่ โรงพยาบาลชัยภูมิ
ผกามาศ สุฐิติวนิช
หอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลชัยภูมิ
บทคัดย่อ
การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สูบบุหรี่มารับบริการในคลินิกอดบุหรี่ โรงพยาบาลชัยภูมิ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เลิกสูบบุหรี่กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เลิกสูบบุหรี่ไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณได้แก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สูบบุหรี่รับบริการที่คลินิกอดบุหรี่ ตั้งแต่ 1 มิถุนายนถึง 30 ธันวาคม 2560 จำนวน 120 คน ซึ่งสามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้เข้าใจ และยินยอมเข้าร่วมงานวิจัยโดยสุ่มจากผู้ป่วยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เลิกบุหรี่ได้ กับผู้ป่วยสูบบุหรี่หรือเลิกบุหรี่ไม่ได้ กลุ่มละ 60 คน การพิทักษ์สิทธิ์ของกลุ่มตัวอย่างได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โรงพยาบาลชัยภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เอสแอฟ-36 ฉบับภาษาไทย ฉบับปรับปรุงเพื่อประเมินคุณภาพชีวิต การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Chi-square และสถิติ Independent t-test
ผลการศึกษา พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเหลือรางที่สูบบุหรี่รับบริการในคลินิกอดบุหรี่ โรงพยาบาลชัยภูมิโดยรวม และหลายมิติดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เลิกสูบบุหรี่กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ยังสูบบุหรี่ พบว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เลิกสูบบุหรี่ไม่ได้ในมิติต่าง ๆ ในด้านการรับรู้สุขภาพ การทำงานด้านร่างกาย ข้อจำกัดเนื่องจากปัญหาทางร่างกาย ปัญหาทางด้านอารมณ์ การทำงานทางสังคม สุขภาพจิตทั่วไป การมีชีวิตและการรับรู้สุขภาพทั่วไปมีผลดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ผลการวิจัย ไปใช้ ปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สูบบุหรี่ ให้มีประสิทธิภาพ โดยมีแนวทางการดูแลติดตามผลครบ 1 ปีและทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยให้ดีขึ้น รวมทั้งการทำงานเชิงรุกในการรณรงค์ป้องกันในชุมชนเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ
 
ที่มา
ชัยภูมิเวชสาร ปี 2561, August ปีที่: 38 ฉบับที่ 2 หน้า 24-35
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Smoking, คุณภาพชี่วิต, Chronic Disease Patients, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, สูบบุหรี่