ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ ป่วยสูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
พิชญ์ประอร ยังเจริญ*, สุภาพ อารีเอื้อ, นันทิกานต์ แสงทอน
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระราม 6 เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
บทคัดย่อ
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เป็นการรักษาที่พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องข้อเข่าเสื่อมรุนแรง การประเมินคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัดจึงเป็นสิ่งสำคัญ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความปวด ความสามารถในการทำกิจกรรม และภาวะซึมเศร้า ในการทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยสูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 6 สัปดาห์ ตัวอย่างคือผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจำนวน 100 ราย ที่มารับบริการโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความปวด แบบประเมินดัชนีบาร์เทลเอดีแอล แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย -15 และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตโรคสะโพกและข้อเข่าเสื่อม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ทดถอยพาหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า ความปวดมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตในระดับสูง (r = - .62, p < .01) ในขณะที่ความสามารถในการทำกิจกรรมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพในระดับปานกลาง (r = .33,    p < .01) ความปวด ความสามารถในการทำกิจกรรม ภาวะซึมเศร้าร่วมกันอธิบายคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยสูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 6 สัปดาห์ได้ร้อยละ 46 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยความปวดเป็นปัจจัยที่มีความสามารถในการ การทำนายสูงสุด ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้คือ ควรจัดโปรแกรมติดตามประเมินและจัดการความปวดจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในช่วงหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลและนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุต่อไป
 
ที่มา
Journal of the Police Nurses ปี 2562, January-June ปีที่: 11 ฉบับที่ 1 หน้า 47-60
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, elderly, Total knee arthroplasty, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข้าเทียม, คุณภาพชี่วิต, ผู้ป่วยสูงอายุ