การลดอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดคลอดแบบไม่เร่งด่วนด้วยมอร์ฟีน 0.08 มิลลิกรัมเปรียบเทียบกับมอร์ฟีน 0.2 มิลลิกรัม ร่วมกับยาชาเข้าช่องไขสันหลัง
ภิติคุณ ชัยเจริญ
กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู 39000 ประเทศไทย
บทคัดย่อ
บทนำ: การฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังร่วมกับมอร์ฟีน 0.2 มิลลิกรัม ในการผ่าตัดคลอดเป็นวิธีการระงับความรู้สึกที่สามารถระงับปวดได้ดี แต่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดได้บ่อยตามปริมาณมอร์ฟีนที่เพิ่มขึ้น
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบอาการคลื่นไส้ อาเจียนใน 24ชั่วโมงหลังผ่าตัด ระหว่างมอร์ฟีน 0.08 และ 0.2 มิลลิกรัม ร่วมกับยาชาเข้าช่องไขสันหลัง รวมทั้งเปรียบเทียบผลการระงับปวดและภาวะแทรกซ้อนอื่น
วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบ prospective, randomized controlled trial ในผู้ป่วยนัดผ่าตัดคลอด 74 คน โดยสุ่มผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มศึกษาได้รับมอร์ฟีน 0.08 มิลลิกรัม กลุ่มควบคุม 0.2 มิลลิกรัม ร่วมกับยาชา 0.5% heavy bupivacaine10.5 มิลลิกรัม ปริมาตรสุทธิ 2.2 มิลลิลิตร บันทึกข้อมูลภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ได้แก่ ระดับความรุนแรงคลื่นไส้ อาเจียน ระยะเวลาที่ต้องการยาแก้ปวดครั้งแรก ปริมาณยาแก้ปวดtramadol คะแนนปวดที่ 1, 6, 12, 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อนอื่น
ผลการศึกษา พบอุบัติการณ์ PONV ในผู้ป่วยกลุ่มศึกษา และกลุ่มควบคุมไม่ต่างกัน (40.5% และ 37.8%;  p = 0.812) ความรุนแรงอาการคลื่นไส้ อาเจียนหลังผ่าตัดไม่ต่างกัน (P=0.069) ระยะเวลาที่ต้องการยาแก้ปวดครั้งแรกไม่ต่างกัน (12 และ13.8 ชั่วโมง; P=0.248) แต่พบว่ากลุ่มที่ได้มอร์ฟีน 0.08 มิลลิกรัม ได้รับ tramadol มากกว่า 25 มิลลิกรัม (P=0.011) และมีคะแนนความปวดมากกว่า อย่างนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001)
สรุป การลดปริมาณมอร์ฟีนจาก 0.2 เป็น 0.08 มิลลิกรัม ร่วมกับยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดแบบไม่เร่งด่วน ไม่ลดความรุนแรงของอาการคลื่นไส้ อาเจียนหลังผ่าตัด แต่ทำให้ผู้ป่วยมีคะแนนความปวดเพิ่มขึ้นและต้องการยาระงับปวด tramadol มากขึ้น
 
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2562, April-June ปีที่: 45 ฉบับที่ 2 หน้า 67-72
คำสำคัญ
Cesarean section, Spinal morphine, คลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด, Postoperative nausea and vomiting, ผ่าตัดคลอด, การระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาร่วมกับมอร์ฟีนเข้าช่องไขสันหลัง