ผลของการฝึกแบบวงจรที่มีความหนักสูงแบบประยุกต์ต่อความแข็งแรงกล้ามเนือ้แกนกลางลำตัว, กล้ามเนื้องอ-เหยียดเข่า, กล้ามเนื้อหัวไหล่ และคุณภาพชีวิตในผู้หญิงที่เป็นโรคอ้วน
ศิรัตน์ปภา ยั่งยืนสิน, วารี วิดจายา, อมรพันธ์ อัจจิมาพร, กรกฤษณ์ ชัยเจนกิจ*
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล จ.นครปฐม ประเทศไทย 73170
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ ศึกษาผลของการฝึกแบบวงจรที่มีความหนักสูงแบบประยุกต์ต่อความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว, กล้ามเนื้องอ-เหยียดเข่า, กล้ามเนื้อหัวไหล่ และคุณภาพชีวิตในผู้หญิงอ้วน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมวิจัย จำนวน 22 คน อายุระหว่าง 30-40 ปี ที่มีค่าดัชนีมวลกาย 25.0 –29.9 กิโลกรัม/เมตร2 ถูกแบ่ง ออกเป็น 2 กลุ่ม โดยการสุ่ม กลุ่มละ 11 คน คือ กลุ่มที่ได้รับการฝึก และกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึก โดยกลุ่มที่ได้รับการฝึกจะทำการฝึกด้วยโปรแกรมแบบวงจรที่มีความหนักสูงแบบประยุกต์เป็นเวลา 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน เวลาที่ใช้ในการออก ก าลังกายต่อรอบ 7.50 นาที โดยสัปดาห์ที่ 1 ออกก าลังกาย 1 รอบ, สัปดาห์ที่ 2-3 สองรอบ, สัปดาห์ที่ 4-5 สามรอบ, สัปดาห์ที่ 6-7 สี่รอบ และสัปดาห์ที่ 8 ห้ารอบ ทั้ง 2 กลุ่มจะถูกวัดตัวแปรทั้งหมด คือ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวไหล่ กล้ามเนื้องอ-เหยียดเข่า กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว และแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต (แบบสำรวจสุขภาพ SF-36 ฉบับภาษาไทย) ในสัปดาห์ที่ 0 และสัปดาห์ที่ 8 ผลการศึกษาพบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างกลุ่มที่ ได้รับการฝึกและภายในกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึก อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มที่ได้รับการฝึกแบบวงจรที่มีความหนักสูงแบบประยุกต์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ มีการเพิ่มขึ้นของกำลังกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนในกล้ามเนื้อแขนและขามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ และในกลุ่มที่ได้รับการฝึกมีความรู้สึกเจ็บปวดต่อร่างกายลดลง รวมทั้งรู้สึกมีพลังมากขั้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (p<0.05) จึงสรุปได้ว่า หลังจากการออก ก าลังกายด้วยโปรแกรมการฝึกแบบวงจรที่มีความหนักสูงแบบประยุกต์ในผู้หญิงอ้วน เป็นเวลา 8 สัปดาห์นั้น มีการ เปลี่ยนแปลงของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพชีวิตในมิติของการรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดต่อร่างกายและความรู้สึกมีพลังในการทำงาน แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงนี้ในกลุ่มควบคุม
 
ที่มา
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ปี 2562, July ปีที่: 19 ฉบับที่ 1 หน้า 133-145
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Exercise, การออกกำลังกาย, คุณภาพชี่วิต, Muscle strength, Core stabilizer muscles, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว