ผลของการเต้นรำาบำบัดที่มีต่อสุขสมรรถนะของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการผ่าตัด
ธรรมารัตน์ กกสูงเนิน, วิชิต คนึงสุขเกษม, สุรสา โค้งประเสริฐ*
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเต้นรำบำบัดที่มีต่อสุขสมรรถนะของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการผ่าตัด
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครเพศหญิงที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมและได้รับการผ่าตัดเรียบร้อยแล้วและสิ้นสุดกระบวนการให้เคมีบำบัด เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 2 ปี อายุระหว่าง 30-70 ปี ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทย์จำนวน 36 คนแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมเต้นรำบำบัดจำนวน 18 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมเต้นรำบำบัดจำนวน 18 คน โดยกลุ่มทดลองจะเข้าร่วมโปรแกรมการเต้นรำบำบัดบัดครั้งละ 60 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลทางด้านสุขสมรรถนะก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง และนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบ ค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) ภายในกลุ่มและทดสอบค่าทีแบบเป็นอิสระต่อกัน (Independent t- test) ระหว่างกลุ่ม โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการวิจัย: หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ พบวากลุ่มทดลองที่เข้าร่วมการเต้นรำบำบัดมีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นไขมันในร่างกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และมีค่าเฉลี่ยของความอ่อนตัว แรงบีบมือ ความอดทนของกล้ามเนื้อต้นขาและทดสอบการเดิน 6 นาทีเพิ่มขึ้น อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า กลุ่มที่ได้เข้าร่วมการเต้นรำบำบัดมีเปอร์เซ็นต์ไขมัน ความอดทนของกล้ามเนื้อต้นขา และทดสอบการเดิน 6 นาที เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมการเต้นรำบำบัดอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปผลการวิจัย:  การเต้นรำบำบัดมีผลช่วยให้เปอร์เซ็นต์ไขมัน ความอดทนของกล้ามเนื้อต้นขา และการทดสอบการเดิน 6 นาทีดีขึ้นในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการผ่าตัด
 
ที่มา
วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ ปี 2561, January-April ปีที่: 19 ฉบับที่ 1 หน้า 109-122
คำสำคัญ
สุขสมรรถนะ, Health-related physical fitness, Dance therapy, Breast cancerafter surgery, เต้นรำบำบัด, มะเร็งเต้านมหลังการผ่าตัด